วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียน
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2559

บรรยากาศในห้องเรียน
วันนี้เป็นการเรียนชดเชย อาจารย์ได้นัดให้กลุ่มที่ยังไม่ได้ออกมาสอนหน้าชั้นเรียนให้เตรียมตัวเพื่อที่จะมาสอนให้อาจารย์ดู

1.วันศุกร์ หน่วยดอกไม้
2.วันอังคาร หน่วยอากาศ
3.วันพุธ หน่วยยานพาหนะ







วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และอาจารย์ก็ได้ปิดคลอสการเรียนในวันนี้เป็นอันเสร็จ

ทักษะที่ได้รับ
1.การสอนเด็กที่ถูกต้อง
2.การจัดเตรียมสื่ออุปกรณ์ให้มีความพร้อมต่อกรสอน
3.การเรียบเรียงคำพูดที่ฟังเข้าใจง่ายสำหรับเด็ก

การประยุกต์ใช้
การจัดการสอนที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็กและการจัดเตรียมสื่ออุปกรณ์ที่หลากหลายและพร้อมสำหรับการสอน

ประเมินอาจารย์ อาจารย์ก็มีคำแนะนำที่ดีให้เหมือนกันทุกครั้งที่ผ่านมา
ประเมินเพื่อน เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมที่เพื่อนพาทำ
ประเมินตนเอง มีความรู้ความเข้าใจหลักการสอนที่ถูกต้องและเหมาะสม



บันทึกการเรียน
วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2559

บรรยาการในห้องเรียน

 วันนี้อาจารย์ต้องเข้าร่วมกิจกรรมของมหาลัยที่สนามกีฬาในร่มและอาจจะเข้ามาสอนช้ากว่าปกตินิดนึง อาจารย์ได้บอกให้นักศึกษามารออาจารย์ก่อน
หลังจากที่อาจารย์เข้าห้องมาอาจารย์ก็ได้พูดคุยถึงเรื่องเกี่ยวกับการสอบเพราะอาจารย์จะนัดสอบนอกตารางเองและก็ได้บอกแนวข้อสอบต่างๆที่ได้สอนมา ติดตามเรื่องการทำบล็อกให้ไปจัดให้สวยงามให้ใช้ภาพโปรไฟล์ที่เป็นชุดนักศึกษาเรียบร้อย
 จากนั้นอาจารย์ได้พูดถึงการทำวิดีโอทำลงยูทูป ว่าเราควรทำให้ออกมาดีที่สุดเพื่อที่จะได้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนอื่นอีกต่อไป เพราะเราจะไม่ทำเพียงเพื่อตัวเองดูอย่างเดียวเเต่จุดประสงค์ที่ทำคือเราจะให้เป็นแหล่งความรู้เพื่มเติมให้กับผู้ที่สนใจและได้สามารถเข้ามาดู้แล้วนำไปใช้ได้อย่างง่ายและถูกต้อง
      
 การทำของเล่น 
1.มีการแนะนำอุปกรณ์
2.บอกขั้นตอนการทำอย่างละเอียด
3.สาธิตการเล่น
4.ทบทวนขั้นตอนการทำอีกครั้ง


บรรยากาศการเรียน







การประยุกต์ใช้
  การทำสื่อของเล่นเด็กที่เป็นประโยชน์และการทำคลิปเพื่อเผยแพร่ไว้เป็นแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมให้กับบุคคลที่อยากรู้

ประเมินอาจารย์ อาจารย์มีคำแนะนำที่ดีเหมือนกับทุกครั้ง
ประเมินเพื่อน เพื่อนๆมีความสนใจและใส่ใจกับงานที่อาจารย์ได้มอบหมายให้
ประเมินตนเอง มีความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนการทำงานที่ถูกต้องและเหมาะสม



บันทึกการเรียน
วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2559

บรรยากาศในห้องเรียน
 อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมาสอนตามวันที่ตกลงกันไว้

1.วันจันทร์ หน่วยผลไม้ 
การสอนคือ เพื่อนเข้าเนื้อหาที่จะเรียนด้วยการพาท่องคำคล้องจองเกี่ยวกับผลไม้ จากนั้นก็ถามให้เพื่อนๆได้มีส่วนร่วมคือถามเกี่ยวกับประสบการณ์เดิมว่านอกจากในคำคล้องจองเด็กๆรู้จักผลไม้ชนิดไหนบ้าง ต่อด้วยการนับจำนวนผลละไม่แล้วก็แยกออกเป็นชนิดแบบผลร่วมกับผลเดี่ยว แล้วก็มีการเปรียบเทียบว่าแบบไหนมีมากกว่ากัน






2.วันอังคาร หน่วยไข่
การสอนคือ เพื่อนสอนเกี่ยวกับส่วนประกอบของไข่ว่ามีอะไรบ้างโดยที่เพื่อนนำไข่มาให้ลองสังเกต 2 ชนิดคือ ไข่ไก่และไข่เป็ด จากนั้นก็ให้สังเกตดูว่าไข่ 2 อย่างนี้มีอะไรที่เหมือนและแตกต่างกันบ้าง






3.วันพุธ หน่วยต้นไม้
การสอนคือ เพื่อนพาท่องคำคล้องจองและฏ้มีกิจกรรมเเบบลงมือปฏิบัติคือเพื่อนได้เตรียมอุปกรณ์มาให้เพื่อนๆปลูกถั่วเขียวกันและก็ได้บอกขั้นตอนการทำอย่างละเอียด






4.วันพฤหัสบดี หน่วยปลา
การสอนคือ เพื่อนได้เตรียมอุปกรณ์มาและก็ได้พาทำกิจกรรมคุ๊กกิ้ง คือการทำปลาชุบแป้งทอด









-ทักษะที่ได้รับ
1.การวางแผนในการทำกิจกรรม
2.การเตรียมความพร้อม
3.การแบ่งหน้าที่
4.การทำการสอนตามแผนที่ได้เขียนไว้
5.การเขียนแผนที่เหมาพชะสมและสามารถนำไปบรูณาการได้หลากหลายกลุ่มสาระ

-การประยุกต์ใช้
การเขียนแผนเพือที่นำไปจัดกับเด็กให้เหมาะสมกับช่วงวัยและการนำไปสาอดแทรกได้กับหลายกลุ่มสาระ

ประเมินอาจารย์  อาจารย์มีการให้คำแนะนำในการสอนตามแผนที่ถูกต้องให้เพื่อที่จะได้นำไปปรับปรุงในการสอนครั้งต่อไป
ประเมอนเพื่อน เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมที่เพื่อนพาทำเป็นอย่างดี
ประเมินตนเอง มีความรู้ความเข้าใจในการเตรียมกิจกรรมการสอนให้กับเด็กที่มากขึ้น


วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559



บันทึกการเรียน
วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2559

บรรยากาศในห้องเรียน
-เนื้อหาที่เรียน
อาจารย์ให้นำเสนอวิดีโอสำหรับกลุ่มที่อาจารย์ได้แนะนำให้ไปแก้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว  จากนั้นก็ได้คุยเรื่องการเขียนแผนของแต่ละกลุ่มที่เลือกทำ และให้เขียนแผนทั้งหมด 5 แผนสำหรับไว้สอน วันจันทร์ถึงวันศุกร์ 
กลุ่มของฉันเลือกทำในหน่วย ยานพาหนะ (ประเภท)





-วัตถุุประสงค์
1.เด็กสามารถบอกประเภทของยายพาหนะได้
2.เด็กสามารถนับจำนวนได้
3.เด็กสามารถเรียนลำดับน้อยไปมากได้

-สาระการเรียนรู้
-สาระที่ควารเรียนรู้
ยานพาหนะมีหลายชนิดซึ่งแต่ละชนิดสามารถเป็นเผฃป็นประเภทได้ 3 ประเภท คือ ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ
ทางบกก็จะมี รถบรรทุก รถยนต์ รถเมย์ เป็นต้น
ทางน้ำก็จะมี เรือโดยสาร เรือขนส่ง เป็นต้น
ทางอากาศก็จะมี เครื่องบิน บอลลูน จรวด เป็นต้น

-ประสบการณ์สำคัญ
การฟังเรื่องราวคำคล้องจอง คำกลอน  การเเสดงออกด้วยคำพูด  การเปรียบเทียบ

-กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
1.นำเข้าเนื้อหาด้วยคำคล้องจอง   "ยานพาหนะมีหลายชนิด รถยนต์ รถเมย์ 
                                              รถไฟ เรือใบ เครื่องบิน อีกทั้งจรวดและยานนานาชนิด"
ขั้นสอน
2.ครูถามเด็กว่าจากคำคล้องจองมียานพาหนะอะไรบ้างและถามว่าเด็กรู้จักยานพาหนะชนิดไหนอีกที่นอกเหนือจากคำคล้องจอง
3.ให้เด็กแยกประเภทของยานพาหนะแล้วให้เด็กช่วยกันนับว่ายานพาหนะมีจำนวนเท่าไหร่โดยมีตัวเลขกำกับ
4.ให้เด็กเปรียบเทียบยานพาหนะประเภทต่างๆแล้วเรียงลำดับ
สรุป
5.ให้เด็กช่วยกันตอบคำถามจากการทำกิจกรรมว่ายานพาหนะประเภทไหนมีจำนวนมากกว่า-น้อยกว่า และแตกต่ากันเท่าไหร่

-สื่อ/เเหล่งเรียนรู้
1.รถ
2.ตัวเลข
3.ชาร์ทคำคล้องจอง

-การวัดและประเมินผล
1.เด็กบอกประเภทของยานพาหนะได้
2.เด็กนับจำนวนได้
3.เด็กเรียงลำดับน้อยไปมากได้

-การบรูณาการ
1.คณิตศาสตร์

การประยุกต์ใช้
การจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมกับเด็กและสามารถนำไปบรูณาการได้กับหลายกลุ่มสาระ

ประเมินอาจารย์  อาจารย์มีคำแนะนำที่ดีให้และบอกวิธีการนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้น
ประเมินเพื่อน เพือนมีความสนใจและเอาใจใส่กับงานที่อาจารย์ได้สั่งให้ทำ
ประเมินตนเอง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนแผนมากขึ้น



บันทึกการเรียน
วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน 2559

บรรยากาศในห้องเรียน
-วันนี้อาจารย์ให้ทุกกลุ่มออกมานำเสนอคลิปวิดีโอที่ให้ไปทำเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์


กลุ่มที่ 1 หลอดมหัศจรรย์



กลุ่มที่ 2 รถพลังงานลม




กลุ่มที่ 3 คานดีดจากไม้ไอติม




กลุ่มที่ 4 ขวดน้ำนักขนของ




หลังจากนำเสนอคลิปวิดีโอเสร็จแล้ว อาจารย์ก็แจกกระดาษให้เป็นกลุ่มกลุ่มละ 2 แผ่น เพื่อที่จะให้เขียนมายแม็บโดยให้สามารถบรูณาการได้ 6 สาระ ดังนี้
1.สาระคณิตศาสตร์
2.สาระวิทยาศาสตร์
3.สาระภาษา
4.สาระสังคมศึกษา
5.สาระศิลปะ
6.สาระสุขศึกษาและพลศึกษา

และการบรูณาการให้ได้กับ 6 กิจกรรมกลัก คือ
1.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
2.กิจกรรมเสริมประสบการณ์
3.กิจกรรมสร้างสรรค์
4.กิจกรรมเสรี
5.กิจกรรมกลางแจ้ง
6.กิจกรรมเกมการศึกษา

ความรู้ที่ได้รับ
1.การทำคลิปให้ความรู้ที่เหมาะสมกับการที่จะนำเผยเเพร่ต่อเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้อื่นอีกต่อไป
2.การคิดอย่างเป็นระบบ
3.การคิดอย่างรอบครอบ
4.การคิดอย่างละเอียด

การนำไปประยุกต์ใช้
1.การทำผลงานให้ออกมาดีเพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ต่อได้
2.หลักการคิดอย่างเป็นระบบรอบครอบและมีเหตุผล

ประเมินผู้สอน อาจารย์มีคำแนะนำที่ดีให้สำหรับการกลับไปแก้ไขงานครั้งต่อไป
ประเมินเพื่อน เพื่อนๆมีความตั้งใจในการทำงานที่อาจารย์ได้สั่งและมีงานออกมานำเสนอกันทุกกลุ่ม
ประเมินตนเอง มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ตนเองไม่เคยทำมาก่อน เช่นการทำคลิปวิดีโอแล้วอัฟลงยูทูปเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมกับบุคคลทั่วไป


วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559



บันทึกการเรียน
วันอังคารที่ 25 ตุลาคม 2559

บรรยายกาศในห้องเรียน

   วันนี้อาจารย์เริ่มการเรียนด้วยการติดตามงานเก่าที่ให้ไปแก้ไขเเละเพิ่มเติมต่อจากสัปดาห์ที่แล้วว่าแต่ละกลุ่มได้ไปเพิ่มเติมหรือได้ไปแก้ไขมาหรือไม่

เพื่อนๆแต่ละกลุ่มนำงานของกลุ่มตัวเองออกไปนำเสนอ

หน่วยปลา



 หน่วยไข่



 หน่วยอวกาศรอบตัวฉัน



 หน่วยผลไม้



 หน่วยดอกไม้



 หน่วยต้นไม้



หน่วยยานพาหนะ




ทักษะที่ได้รับ
1.มาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
2.การจัดกิจกรรมฝฃให้เชื่อมโยงกับมาตรฐาน
3.การสอนตามมาตรฐาน
4.การเปลี่ยนแปลง
5.การสื่อสารในลักษณะต่างๆของเด็ก
6.เกณฑ์ในการจัดกลุ่มหรือประเภท
7.การเปรียบเทียบ

การประยุกต์ใช้
     การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับมาตรฐานการเรียนรู้ของแต่ละหน่วย
  

ประเมินผล

ประเมินตนเอง สามารถจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับมาตรฐานได้

ประเมินเพื่อน เพื่อนๆมีความเข้าใจและช่วยกันทำงาานเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์ อาจารย์มีหลักการอธิบายที่เข้าใจได้ง่าย





บันทึกการเรียน
วันอังคารที่ 18 ตุลาคม 2559

บรรยากาศในห้องเรียน
   วันนี้อาจารย์ได้พูดคุยให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับของเล่นที่เป็นงานกลุ่มว่าสามารถจัดกับเด็กได้อย่างไรและควารแก้ไขเพิ่มเติมตรงไหร สามรถเชื่อมโยงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในเรื่องไหนได้บ้าง



หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน แล้วให้สมาชิกในกลุ่มปรึกษากันว่าจะจักการเรียนรู้ในหน่วยอะไร จากนั้นก็วางแผนแล้วก็เขียนลงกระดาษชาร์ต







หน่วยที่เพื่อนๆแต่ละกลุ่มเลือกทำก็จะมี ดังนี้
1.หน่วยยานพาหนะ
2.หน่วยดอกไม้
3.หน่วยไข่
4.หน่วยอวกาศ
5.หน่วยต้นไม้
6.หน่วยปลา
7.หน่วยผลไม้

ทักษะที่ได้รับ

วิทยาศาสตร์คืออะไร

ธีระชัย (2540) กล่าวว่า วิทยาศาสตร์ เป็นการศึกษาเรื่องราวของปรากฏการณ์ธรรมชาติและแสวงหากฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ดังนั้น วิทยาศาสตร์จึงหมายรวมถึง เนื้อหาสาระของความรู้ที่เกี่ยวกับธรรมชาติ การคิดอย่างมีระเบียบวิธี รวมทั้งวิธีการที่ใช้ในการแสวงหาความรู้และเจตคติทางวิทยาศาสตร์

Sund (1964) กล่าวว่า วิทยาศาสตร์ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับปรากฎการณ์ธรรมชาติอย่างเป็นระบบ รวมทั้งองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับธรรมชาติ เจตคติทางวิทยาศาสตร์และกระบวนการหรือวิธีการเสาะแสวงหาความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับธรรมชาติ

วิทยาศาสตร์ คือ การศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ อย่างเป็นระบบ ด้วยกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ รวมทั้งกระบวนการที่จะได้มาซึ่งองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Body of scientific knowledge) วิธีการทางวิทยาศาสตร์(Scientific method) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Science process skills) และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific attitude) หรือจิตวิทยาศาสตร์ (Scientific mind)

การประยุกต์ใช้    การจัดหน่วยเรียนรู้สำหรับเด็กที่เหมาะสมเข้าใจง่ายและมีความสอดคล้องกับเนื้อหาสาระทางวิทยาศาสตร์ และสามารถสอดคล้องหรือเชื่อมโยงได้อย่างหลากหลายและเข้าใจง่าย
 

ประเมินผล

ประเมินตนเอง มีความรู้เรื่องการเลือกหน่วยที่เหมาะในการนำมาจัดกิจกรรมให้กับเด็ก

ประเมินเพื่อน เพื่อนๆมีความตั้งใจในการทำงานที่อาจารย์ได้มอบหมายให้

ประเมินอาจารย์ อาจารย์ได้อธิบายและยกตัวอย่างการจัดกิจกรรมที่สามารถเข้าใจได้ง่าย