วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559


สรุปวิจัย

การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ

ผู้วิจัย เอราวรรณ ศรีจักร

ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย

ประเด็นที่ 1 วิทยาศาสตร์มีความสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต
ประเด็นที่ 2 วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคมแห่งความรู้คนทุกคนจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์
ประเด็นที่ 3 การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล ซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ประเด็นที่ 4 เด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 4 - 5 ปีมีลักษณะเฉพาะตัว คือมีความเชื่อว่าทุกอย่างมีชีวิตมีความรู้สึกและเชื่อว่าทุกสิ่งในโลกมีจุดมุงหมายและชอบตั้งคำถามโดยใช้คำว่า”ทำไม”
ประเด็นที่ 5 การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยนั้นจะมาจากการใช้ประสาทสัมผัส เป็นหลักการเรียนรู้ สื่อสำหรับเด็กในการเรียนรู้มีหลายชนิด สื่อแต่ละชนิดสามารถปรับใช้ได้กับหลายจุดประสงค์
ประเด็นที่ 6 แบบฝึกทักษะเป็นเอกสารที่สร้างขึ้นเพื่อฝึกให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านสติปัญญาและทักษะต่างๆ มีรูปแบบวิธีการ ที่มีแบบแผน กฎเกณฑ์โดยมีคำสั่งของแต่ละกิจกรรมตามเนื้อหาของจุดประสงค์ของแบบฝึกแต่ละเล่ม ซึ่งเป็นแบบฝึกเกี่ยวกับภาพ ครูจะใช้ประกอบขณะเด็กทำกิจกรรมหรือตอนสรุปการเรียน

ความมุ่งหมายของการวิจัย
1.เพื่อศึกษาระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายทักษะ หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกหัด
2.เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประชุดแบบฝึกทักษะ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยใช้เป็นแนวทางในการใช้แบบฝึกทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและเป็นแนวทางสำหรับครูในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อที่เป็นแบบฝึกทักษะหรือสื่ออื่นๆแก่เด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ

ขอบเขตของการศึกษาวิจัย

ตัวแปรในการวิจัย ตัวแปรอิสระ/ตัวแปรต้น คือ กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์

ตัวแปรตาม/ตัวจัดกระทำ ได้แก่ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 4 ด้าน คือ
1.สังเกต
2.จำแนกประเภท
3.สื่อสาร
4.การลงความเห็น

สมมุติฐานการวิจัย เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะมีการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน
ประชากร นักเรียนชาย-หญิงที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทรเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา 2
วิธีดำเนินการวิจัย การเลือกกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปีกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทรเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา 2 ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับฉลากเลือกจำนวน 1 ห้องเรียน จากจำนวน 2 ห้องเรียน และผู้วิจัยสุ่มนักเรียนเข้ากลุ่มทดลอง 15 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.ชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ โดยใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้ ของ รศ.ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ
2.แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สาระตามชุดแบบฝึกทักษะ
3.แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

สรุปผลการวิจัย

1.พัฒนาการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอยู่ในระดับดีมากและจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับ ดีมาก 3 ทักษะคือ ทักษะการสังเกต ทักษะการสื่อสาร และทักษะการลงความเห็น และอยู่ในระดับดี 1 ทักษะคือ ทักษะการจำแนกประเภท
2.พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ.01


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น