วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559



บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
วันอังคารที่ 20 กันยายน 2559


บรรยากาศในห้องเรียน
บรรยากาศวันนี้อาจารย์แจกกระดาษให้กับนักศึกษาทุกคนแล้วให้คัด ก-ฮ ซึ่่งครั้งนี้เป็นการคัดลายมือครั้งที่ 3 เพื่อนๆทุกคนต่างก็ตั้งใจคัดลายมือกันเนื่องจากอาจารย์ให้เวลาในการทำน้อยกว่าครั้งก่อนๆที่เคยทำ

ผลงานคัด ก-ฮ ครั้งที่ 3


   หลังจากคัดลายมือกันเสร็จทุกคน ครูก็ให้นำเสนอของเล่นของตนเองว่าสามารถปรับใช้หรือเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ในเรื่ิองใดบ้าง ของเล่นที่เพื่อนๆทำมาก็จะเกี่ยวข้องกับ  1.เรื่องอากาศ   2.เเรงโน้มถ่วง   3.เเรงดัน  4.เเรงพยุงที่เกิดขึ้นกับของเล่น   5.ความหนาแน่น  6.แรงโน้มถ่วง
   และหลังจากนำเสนอของเล่นกันทุกคนแล้วอาจารย์ก็ให้ออกไปนำเสนอของเล่นที่ทำเป็นกลุ่ม

กลุ่มที่1 กล่องพิศวง





หลักการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับแสง

      เป็นปรากฏการณ์ที่แสงเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นค่าหนึ่งมายังตัวกลางที่มีค่าความหนาแน่นอีกตัวหนึ่ง ทำให้แสงตกกระทบกับตัวกลางใหม่ แล้วสะท้อนกลับสู่ตัวเดิม เช่น การสะท้อนของแสงจากอากาศกับผิวหน้าของกระจกเงาจะเกิดการสะท้อนแสงที่ผิวหน้าของกระจกเงาราบแล้วกลับสู่อากาศดังเดิม เมื่อแสงตกกระทบกับผิวหน้าของตัวกลางใดๆ ปริมาณและทิศทางของการสะท้อนของแสง จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของพื้นผิวหน้าของตัวกลางที่ตกกระทบ จากรูป เมื่อลำแสงขนานตกกระทบพื้นผิวหน้าวัตถุที่เรียบ แสงจะสะท้อนเป็นลำแสงขนานเหมือนกับลำแสงที่ตกกระทบ การสะท้อนบนพื้นผิวหน้าที่เรียบ โดยเรียกว่า การสะท้อนแบบสม่ำเสมอ


กลุ่มที่ 2 ลูกกลิ้งหกคเมน


อุปกรณ์

1.กล่องกระดาษ 
2.ขวดน้ำพลาสติก
3.มีดคัตเตอร์
4.ปืนกาว
5.ไม้บรรทัด
6.ลูกแก้วหลากสี
7.กรรไกร
8.กาว
9.กระดาษสี
10.ตะเกียบ

ขั้นตอนการทำ
1.เริ่มจากการเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม
2.นำขวดน้ำพลาสติกมาตัดตรงปากขวดและตูดขวดออก
3.หลังจากตัดทั้งสองข้างครบตามจำนวนขวดที่ต้องการแล้วก็ใช้คัตเตอร์แบ่งผ่าครึ่งขวดให้เป็นสองชิ้น
4.แล้วนำขวดที่ผ่าครึ่งมาติดเข้ากับตะเกียบโดยใช้ปืนกาวเป็นตัวเชื่อมให้ติดกัน และติดไปจนครบตามที่ต้องการ 
5.จากนั้นก็ทดลองว่าลูกแก้วกลิ้งได้ดีหรทืไม่ หรือมีปัญหาตรงไหนที่ต้องแก้ไขหรือเปล่า
6.หลังจากตรวจเช็คเสร็จก็แก้ไขตรงจุดที่มีปัญหาจากนั้นก็ตกแต่งให้สวยงามตามที่ต้องการ
7.วัดกระดาษลังที่เตรียมไว้โดนใช้ของเล่นที่ทำเป็นเกณฑ์ โดยวัดให้มีขนาดใหญ่กว่าของเล่นประมาณ2-3เท่า
8.หลังจากนั้นก็นำทั้งสองสิ่งมาประกอบเข้าด้วยกัน เป็นอันเสร็จ

หลักการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง

     ความโน้มถ่วง เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งทำให้วัตถุกายภาพทั้งหมดดึงดูดเข้าหากัน ความโน้มถ่วงทำให้วัตถุกายภาพมีน้ำหนักและทำให้วัตถุตกสู่พื้นเมื่อปล่อย แรงโน้มถ่วงเป็นหนึ่งในสี่แรงหลัก ซึ่งประกอบด้วย แรงโน้มถ่วง แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน และ แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม ในจำนวนแรงทั้งสี่แรงหลัก แรงโน้มถ่วงมีค่าน้อยที่สุด ถึงแม้ว่าแรงโน้มถ่วงจะเป็นแรงที่เราไม่สามารถรับรู้ได้มากนักเพราะความเบาบางของแรงที่กระทำต่อเรา แต่ก็เป็นแรงเดียวที่ยึดเหนี่ยวเราไว้กับพื้นโลก แรงโน้มถ่วงมีความแรงแปรผันตรงกับมวล และแปรผกผันกับระยะทางยกกำลังสอง ไม่มีการลดทอนหรือถูกดูดซับเนื่องจากมวลใดๆ ทำให้แรงโน้มถ่วงเป็นแรงที่สำคัญมากในการยึดเหนี่ยวเอกภพไว้ด้วยกัน
นอกเหนือจากความโน้มถ่วงที่เกิดระหว่างมวลแล้ว ความโน้มถ่วงยังสามารถเกิดขึ้นได้จากการที่เราเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ตามกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน


กลุ่มที่ 3 ไฟฉายหลากสี



หลักการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับแสง

    แสงคือรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าที่อยู่ในช่วงสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถมองเห็นได้
แสงสามารถผ่านวัตถุโปร่งใสได้ เช่น กระจกฝ้า กระดาษฝ้า พลาสติกฝ้า วัตถุเหล่านี้ จะกระจายแสงออกไปโดยรอบ ทำให้แสงเคลื่อนที่ไม่เป็นเส้นตรงเมื่อเคลื่อนที่ผ่านวัตถุโปร่งแสง

กลุ่มที่ 4  กล้องเพอริสโคป




หลักการทางวิทยาศาสตร์
  
  กล้องเพอริสโคปใช้หลักการสะท้อนของแสงผ่านกระจก 2 ชิ้น ที่เอียงทำมุม45 องศา มาใช้ แสงที่ส่องผ่านเข้ามาตกกระทบกับกระจกจะสะท้อนทำมุม 90องศาทำให้เราสามารถมองเห็นภาพวัตถุที่อยู่สูงเหนือระดับสายตาได้ ซึ่งภาพที่เห็นก็จะอยู่ในทิศทางเดียวกับของจริง

******************************************

หลังจากที่นำเสนอของเล่นเสร็จอาจารย์ก็ได้นำภาพของเล่นที่รุ่นพี่ทำไว้มาให้ดู




      หลังจากที่ดูของเล่นกันครบแล้วอาจารย์ได้แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่นแล้วให้นักศึกษาทาบมือลงบนกระดาษแล้ววาดภาพตามมือของตนเอง จากนั้นก็ให้ใช้ปากกาเมจิกวาดเส้นโค้งบนภาพมือที่เราวาดพอวาดเสร็จก็เปลี่ยนสีปากกาแล้วขีดเส้นโดยขีดเส้นที่สองให้ติดกันกับเส้นเเรกที่ทำไว้  ดังรูปภาพนี้


*กิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำจะเป็นการทำภาพให้มีมิติขึ้นจากการทำเส้นโค้งและใช้สีสองสีเขียนเส้นติดกัน


ต่อมาเป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องการไหลของน้ำที่ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ จากภาพคือการทดลองการไหลของน้ำ







***ต่อมาอาจารย์ให้พับกระดาษเป็นสี่เหลี่ยมแล้วตัดเป็นดอกไม้  ดังภาพ


       จากนั้นอาจารย์ก็ให้พับๆดอกไม้ที่ทำแล้วนำไปลอยในน้ำแล้วคอยสังเกตการเปลี่ยนแปลง จะพบการเปลี่ยนแปลงคือ กระดาษรูปดอกไม้ที่เราพับเเล้วเอาไปลอยไว้ในน้ำเกิดการคลี่ออกคล้ายกับดอกไม้บาน
สาเหตุเกิดมาจากน้ำเข้าไปซึมซับตามพื้นที่ว่างของกระดาษทำให้กระดาษอ่อนแล้วเกิดการคลี่ออกตามที่เราได้ทดลองทำ



****งานที่ทำส่งครู






ทักษะที่ได้รับ
1.ทักษะการนำเสนองาน
2.การสังเกตการทดลอง
3.การใช่ความคิดสร้างสรรค์
4.การออกแบบของเล่น
5.การคัดลายมือ
6.การทำงานเป็นกลุ่ม

การประยุกต์ใช้ 
   การออกแบบของเล่นที่เหมาะกับพัฒนาการ และการทำการทดลองที่ง่ายๆเด็กสามารถทำและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถนำไปต่อยอดเป็นความรู้ใหม่ได้ การเอาสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วมาดัดเเปลงเป็นสิ่งใหม่แล้วสามารถนำสอนให้กับเด็กๆได้

ประเมินผล

ประเมินตนเอง  มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์สอนได้ดีพอสมควร

ประเมินเพื่อน เพื่อนๆมีความตั้งใจในการเรียนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้ทำในห้องเรียนเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์  อาจารย์มีหลักการสอนที่น่าสนใจและมีการนำกิจกรรมต่างๆมาให้นักศึกษาได้ทำเพื่อที่จะได้มีความเข้าใจในการเรียนมากยิ่งขึ้น


*************************************************















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น