บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2559
บรรยากาศในห้องเรียน
-วันนี้บรรยายกาศในห้องเรียนก็ครึกครื้นและสนุกสนานเหมือนเช่นเคย แต่อาจารย์ไม่ได้ขึ้นมาสอนเพราะติดประชุมด่วนอาจารย์จิงได้มอบหมายงายให้นักศึกษาทำในห้องเรียนคือ อาจารย์ให้เพื่อนไปเอาชีสมามาแจกกันอ่านแล้วก็สรุปตามที่ตนเองเข้าใจแล้วส่งในคาบ
-รูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย
คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3 – 5 ปี
ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.
2546 มีดังนี้
เด็กอายุ 3
ปี
|
เด็กอายุ 4
ปี
|
เด็กอายุ 5
ปี
|
พัฒนาการด้านร่างกาย
·
วิ่งและหยุดโดยไม่ล้ม
·
รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว
·
เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้
·
เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
·
ใช้กรรไกรมือเดียวได้
·
วาดและระบายสีอิสระได้
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
·
แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
·
ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้คำชม
·
กลัวการพลัดจากผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดน้อยลง
พัฒนาการด้านสังคม
·
รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
·
ชอบเล่นแบบคู่ขนาน (เล่นของเล่นชนิดเดียวกันแต่ต่างคนต่างเล่น)
·
เล่นสมมติได้
·
รู้จักรอคอย
|
พัฒนาการด้านร่างกาย
·
กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้
·
รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสอง
·
เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้
·
เขียนรูปสีเหลี่ยมตามแบบได้
·
ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
·
กระฉับการเฉยไม่ชอบอยู่เฉย
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
·
แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับบางสถานการณ์
·
เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
·
ชอบท้าทายผู้ใหญ่
·
ต้องการให้มีคนฟังคนสนใจ
พัฒนาการด้านสังคม
·
แต่งตัวได้ด้วยตนเอง
ไปห้องส้วมได้เอง
·
เล่นร่วมกับผู้อื่นได้
รอคอยตามลำดับก่อน – หลัง
·
แบ่งของให้คนอื่น
·
เก็บขอบเล่นเข้าที่ได้
|
พัฒนาการด้านร่างกาย
·
กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้
·
รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสอง
·
เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว
·
เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
·
ตัดกระกาษตามแนวเส้นโค้งที่กำหนด
·
ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี เช่น
ติดกระดุม ผูกเชือกรองเท้า ฯลฯ
·
ยืดตัว คล่องแคล่ว
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
·
แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม
·
ชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
·
ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้องลง
พัฒนาการด้านสังคม
·
ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
·
เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้
·
พบผู้ใหญ่ รู้จักไหว้
ทำความเคารพ
·
รู้จักขอบคุณ เมื่อรับของจากผู้ใหญ่
·
รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
|
เด็กอายุ 3
ปี
|
เด็กอายุ 4
ปี
|
เด็กอายุ 5
ปี
|
พัฒนาการด้านสติปัญญา
·
สำรวจสิ่งต่าง ๆ ที่เหมือนกันและต่างกันได้
·
บอกชื่อของตนเองได้
·
ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
·
สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้น ๆ ได้
·
สนใจนิทานและเรื่องราวต่าง ๆ
·
ร้องเพลง ท่องคำกลอน คำคล้องจองง่าย ๆ และแสดงท่าทางเลียนแบบได้
·
รู้จักใช้คำถาม “อะไร”
·
สร้างผลงานตามความคิดของตนเองอย่างง่าย
ๆ
·
อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
|
พัฒนาการด้านสติปัญญา
·
จำแนกสิ่งต่าง ๆ
ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าได้
·
บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
·
พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
·
สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง
·
สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
·
รู้จักใช้คำถาม “ทำไม”
|
พัฒนาการด้านสติปัญญา
·
บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง
รส รูปร่าง
จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้
·
บอกชื่อ นามสกุล
และอายุของตนเองได้
·
พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
·
สนทนาโต้ตอบ / เล่าเป็นเรื่องราวได้
·
สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
·
รู้จักใช้คำถาม “ทำไม” “อย่างไร”
·
เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
·
นับสิ่งต่าง ๆ จำนวนมากกว่า 10
ได้
|
-ทฤษฎีการเรียนรู้
การทดลองของพาฟลอฟ
การทดลองของวัตสัน
-ทฤษฎีการเรียนรู้
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom (Bloom's Taxonomy)
Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ
- ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
- ความเข้าใจ (Comprehend)
- การประยุกต์ (Application)
- การวิเคราะห์ (Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้
- การสังเคราะห์ (Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่
- การประเมินค่า (Evaluation) วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด
- ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์
- ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
- ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ
- ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
- ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
- เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม
ความต่อเนื่อง (continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ และต่อเนื่องกัน
- การจัดช่วงลำดับ (sequence) หมายถึง หรือการจัดสิ่งที่มีความง่าย ไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
- บูรณาการ (integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียน ได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมด ของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆ กัน ประสบการณ์การเรียนรู้ จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม
สรุป หลักการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
พัฒนาเด็กให้ครบทุกพัฒนาการ เน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข กิจกรรมที่จัดต้องมีความสมดุลยึดเด็กเป็นสำคัญ และต้องประสานสัมพันธ์กับครอบครัวและชุมชน
ความรู้ที่ได้รับ
- การทดลองการเรียนรู้ต่างๆของนักทฤษฎี พัฒนาการแต่ละด้านของเด็ก 3-5 ปี
- การจัดการเรียนที่เหมาะสมและการจัดการเรียนที่มีการประสานสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน
-รูปแบบการเรียนรู้
การประเมินผล
-ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆต่างก็ตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่ง
-ประเมินตนเอง
มีความเข้าในในหลักการและทฤษฎีต่างที่นักทฤษฎีได้ทำการทดลอง
-ประเมินอาจารย์
ถึงวันนี้อาจารย์จะไม่ว่างสอนแต่ก็ยังมีการสั่งงานเพื่อให้นักศึกษาได้ค้นคว้าหาความรู้
***********************************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น