วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียน
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2559

บรรยากาศในห้องเรียน
วันนี้เป็นการเรียนชดเชย อาจารย์ได้นัดให้กลุ่มที่ยังไม่ได้ออกมาสอนหน้าชั้นเรียนให้เตรียมตัวเพื่อที่จะมาสอนให้อาจารย์ดู

1.วันศุกร์ หน่วยดอกไม้
2.วันอังคาร หน่วยอากาศ
3.วันพุธ หน่วยยานพาหนะ







วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และอาจารย์ก็ได้ปิดคลอสการเรียนในวันนี้เป็นอันเสร็จ

ทักษะที่ได้รับ
1.การสอนเด็กที่ถูกต้อง
2.การจัดเตรียมสื่ออุปกรณ์ให้มีความพร้อมต่อกรสอน
3.การเรียบเรียงคำพูดที่ฟังเข้าใจง่ายสำหรับเด็ก

การประยุกต์ใช้
การจัดการสอนที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็กและการจัดเตรียมสื่ออุปกรณ์ที่หลากหลายและพร้อมสำหรับการสอน

ประเมินอาจารย์ อาจารย์ก็มีคำแนะนำที่ดีให้เหมือนกันทุกครั้งที่ผ่านมา
ประเมินเพื่อน เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมที่เพื่อนพาทำ
ประเมินตนเอง มีความรู้ความเข้าใจหลักการสอนที่ถูกต้องและเหมาะสม



บันทึกการเรียน
วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2559

บรรยาการในห้องเรียน

 วันนี้อาจารย์ต้องเข้าร่วมกิจกรรมของมหาลัยที่สนามกีฬาในร่มและอาจจะเข้ามาสอนช้ากว่าปกตินิดนึง อาจารย์ได้บอกให้นักศึกษามารออาจารย์ก่อน
หลังจากที่อาจารย์เข้าห้องมาอาจารย์ก็ได้พูดคุยถึงเรื่องเกี่ยวกับการสอบเพราะอาจารย์จะนัดสอบนอกตารางเองและก็ได้บอกแนวข้อสอบต่างๆที่ได้สอนมา ติดตามเรื่องการทำบล็อกให้ไปจัดให้สวยงามให้ใช้ภาพโปรไฟล์ที่เป็นชุดนักศึกษาเรียบร้อย
 จากนั้นอาจารย์ได้พูดถึงการทำวิดีโอทำลงยูทูป ว่าเราควรทำให้ออกมาดีที่สุดเพื่อที่จะได้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนอื่นอีกต่อไป เพราะเราจะไม่ทำเพียงเพื่อตัวเองดูอย่างเดียวเเต่จุดประสงค์ที่ทำคือเราจะให้เป็นแหล่งความรู้เพื่มเติมให้กับผู้ที่สนใจและได้สามารถเข้ามาดู้แล้วนำไปใช้ได้อย่างง่ายและถูกต้อง
      
 การทำของเล่น 
1.มีการแนะนำอุปกรณ์
2.บอกขั้นตอนการทำอย่างละเอียด
3.สาธิตการเล่น
4.ทบทวนขั้นตอนการทำอีกครั้ง


บรรยากาศการเรียน







การประยุกต์ใช้
  การทำสื่อของเล่นเด็กที่เป็นประโยชน์และการทำคลิปเพื่อเผยแพร่ไว้เป็นแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมให้กับบุคคลที่อยากรู้

ประเมินอาจารย์ อาจารย์มีคำแนะนำที่ดีเหมือนกับทุกครั้ง
ประเมินเพื่อน เพื่อนๆมีความสนใจและใส่ใจกับงานที่อาจารย์ได้มอบหมายให้
ประเมินตนเอง มีความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนการทำงานที่ถูกต้องและเหมาะสม



บันทึกการเรียน
วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2559

บรรยากาศในห้องเรียน
 อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมาสอนตามวันที่ตกลงกันไว้

1.วันจันทร์ หน่วยผลไม้ 
การสอนคือ เพื่อนเข้าเนื้อหาที่จะเรียนด้วยการพาท่องคำคล้องจองเกี่ยวกับผลไม้ จากนั้นก็ถามให้เพื่อนๆได้มีส่วนร่วมคือถามเกี่ยวกับประสบการณ์เดิมว่านอกจากในคำคล้องจองเด็กๆรู้จักผลไม้ชนิดไหนบ้าง ต่อด้วยการนับจำนวนผลละไม่แล้วก็แยกออกเป็นชนิดแบบผลร่วมกับผลเดี่ยว แล้วก็มีการเปรียบเทียบว่าแบบไหนมีมากกว่ากัน






2.วันอังคาร หน่วยไข่
การสอนคือ เพื่อนสอนเกี่ยวกับส่วนประกอบของไข่ว่ามีอะไรบ้างโดยที่เพื่อนนำไข่มาให้ลองสังเกต 2 ชนิดคือ ไข่ไก่และไข่เป็ด จากนั้นก็ให้สังเกตดูว่าไข่ 2 อย่างนี้มีอะไรที่เหมือนและแตกต่างกันบ้าง






3.วันพุธ หน่วยต้นไม้
การสอนคือ เพื่อนพาท่องคำคล้องจองและฏ้มีกิจกรรมเเบบลงมือปฏิบัติคือเพื่อนได้เตรียมอุปกรณ์มาให้เพื่อนๆปลูกถั่วเขียวกันและก็ได้บอกขั้นตอนการทำอย่างละเอียด






4.วันพฤหัสบดี หน่วยปลา
การสอนคือ เพื่อนได้เตรียมอุปกรณ์มาและก็ได้พาทำกิจกรรมคุ๊กกิ้ง คือการทำปลาชุบแป้งทอด









-ทักษะที่ได้รับ
1.การวางแผนในการทำกิจกรรม
2.การเตรียมความพร้อม
3.การแบ่งหน้าที่
4.การทำการสอนตามแผนที่ได้เขียนไว้
5.การเขียนแผนที่เหมาพชะสมและสามารถนำไปบรูณาการได้หลากหลายกลุ่มสาระ

-การประยุกต์ใช้
การเขียนแผนเพือที่นำไปจัดกับเด็กให้เหมาะสมกับช่วงวัยและการนำไปสาอดแทรกได้กับหลายกลุ่มสาระ

ประเมินอาจารย์  อาจารย์มีการให้คำแนะนำในการสอนตามแผนที่ถูกต้องให้เพื่อที่จะได้นำไปปรับปรุงในการสอนครั้งต่อไป
ประเมอนเพื่อน เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมที่เพื่อนพาทำเป็นอย่างดี
ประเมินตนเอง มีความรู้ความเข้าใจในการเตรียมกิจกรรมการสอนให้กับเด็กที่มากขึ้น


วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559



บันทึกการเรียน
วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2559

บรรยากาศในห้องเรียน
-เนื้อหาที่เรียน
อาจารย์ให้นำเสนอวิดีโอสำหรับกลุ่มที่อาจารย์ได้แนะนำให้ไปแก้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว  จากนั้นก็ได้คุยเรื่องการเขียนแผนของแต่ละกลุ่มที่เลือกทำ และให้เขียนแผนทั้งหมด 5 แผนสำหรับไว้สอน วันจันทร์ถึงวันศุกร์ 
กลุ่มของฉันเลือกทำในหน่วย ยานพาหนะ (ประเภท)





-วัตถุุประสงค์
1.เด็กสามารถบอกประเภทของยายพาหนะได้
2.เด็กสามารถนับจำนวนได้
3.เด็กสามารถเรียนลำดับน้อยไปมากได้

-สาระการเรียนรู้
-สาระที่ควารเรียนรู้
ยานพาหนะมีหลายชนิดซึ่งแต่ละชนิดสามารถเป็นเผฃป็นประเภทได้ 3 ประเภท คือ ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ
ทางบกก็จะมี รถบรรทุก รถยนต์ รถเมย์ เป็นต้น
ทางน้ำก็จะมี เรือโดยสาร เรือขนส่ง เป็นต้น
ทางอากาศก็จะมี เครื่องบิน บอลลูน จรวด เป็นต้น

-ประสบการณ์สำคัญ
การฟังเรื่องราวคำคล้องจอง คำกลอน  การเเสดงออกด้วยคำพูด  การเปรียบเทียบ

-กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
1.นำเข้าเนื้อหาด้วยคำคล้องจอง   "ยานพาหนะมีหลายชนิด รถยนต์ รถเมย์ 
                                              รถไฟ เรือใบ เครื่องบิน อีกทั้งจรวดและยานนานาชนิด"
ขั้นสอน
2.ครูถามเด็กว่าจากคำคล้องจองมียานพาหนะอะไรบ้างและถามว่าเด็กรู้จักยานพาหนะชนิดไหนอีกที่นอกเหนือจากคำคล้องจอง
3.ให้เด็กแยกประเภทของยานพาหนะแล้วให้เด็กช่วยกันนับว่ายานพาหนะมีจำนวนเท่าไหร่โดยมีตัวเลขกำกับ
4.ให้เด็กเปรียบเทียบยานพาหนะประเภทต่างๆแล้วเรียงลำดับ
สรุป
5.ให้เด็กช่วยกันตอบคำถามจากการทำกิจกรรมว่ายานพาหนะประเภทไหนมีจำนวนมากกว่า-น้อยกว่า และแตกต่ากันเท่าไหร่

-สื่อ/เเหล่งเรียนรู้
1.รถ
2.ตัวเลข
3.ชาร์ทคำคล้องจอง

-การวัดและประเมินผล
1.เด็กบอกประเภทของยานพาหนะได้
2.เด็กนับจำนวนได้
3.เด็กเรียงลำดับน้อยไปมากได้

-การบรูณาการ
1.คณิตศาสตร์

การประยุกต์ใช้
การจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมกับเด็กและสามารถนำไปบรูณาการได้กับหลายกลุ่มสาระ

ประเมินอาจารย์  อาจารย์มีคำแนะนำที่ดีให้และบอกวิธีการนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้น
ประเมินเพื่อน เพือนมีความสนใจและเอาใจใส่กับงานที่อาจารย์ได้สั่งให้ทำ
ประเมินตนเอง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนแผนมากขึ้น



บันทึกการเรียน
วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน 2559

บรรยากาศในห้องเรียน
-วันนี้อาจารย์ให้ทุกกลุ่มออกมานำเสนอคลิปวิดีโอที่ให้ไปทำเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์


กลุ่มที่ 1 หลอดมหัศจรรย์



กลุ่มที่ 2 รถพลังงานลม




กลุ่มที่ 3 คานดีดจากไม้ไอติม




กลุ่มที่ 4 ขวดน้ำนักขนของ




หลังจากนำเสนอคลิปวิดีโอเสร็จแล้ว อาจารย์ก็แจกกระดาษให้เป็นกลุ่มกลุ่มละ 2 แผ่น เพื่อที่จะให้เขียนมายแม็บโดยให้สามารถบรูณาการได้ 6 สาระ ดังนี้
1.สาระคณิตศาสตร์
2.สาระวิทยาศาสตร์
3.สาระภาษา
4.สาระสังคมศึกษา
5.สาระศิลปะ
6.สาระสุขศึกษาและพลศึกษา

และการบรูณาการให้ได้กับ 6 กิจกรรมกลัก คือ
1.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
2.กิจกรรมเสริมประสบการณ์
3.กิจกรรมสร้างสรรค์
4.กิจกรรมเสรี
5.กิจกรรมกลางแจ้ง
6.กิจกรรมเกมการศึกษา

ความรู้ที่ได้รับ
1.การทำคลิปให้ความรู้ที่เหมาะสมกับการที่จะนำเผยเเพร่ต่อเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้อื่นอีกต่อไป
2.การคิดอย่างเป็นระบบ
3.การคิดอย่างรอบครอบ
4.การคิดอย่างละเอียด

การนำไปประยุกต์ใช้
1.การทำผลงานให้ออกมาดีเพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ต่อได้
2.หลักการคิดอย่างเป็นระบบรอบครอบและมีเหตุผล

ประเมินผู้สอน อาจารย์มีคำแนะนำที่ดีให้สำหรับการกลับไปแก้ไขงานครั้งต่อไป
ประเมินเพื่อน เพื่อนๆมีความตั้งใจในการทำงานที่อาจารย์ได้สั่งและมีงานออกมานำเสนอกันทุกกลุ่ม
ประเมินตนเอง มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ตนเองไม่เคยทำมาก่อน เช่นการทำคลิปวิดีโอแล้วอัฟลงยูทูปเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมกับบุคคลทั่วไป


วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559



บันทึกการเรียน
วันอังคารที่ 25 ตุลาคม 2559

บรรยายกาศในห้องเรียน

   วันนี้อาจารย์เริ่มการเรียนด้วยการติดตามงานเก่าที่ให้ไปแก้ไขเเละเพิ่มเติมต่อจากสัปดาห์ที่แล้วว่าแต่ละกลุ่มได้ไปเพิ่มเติมหรือได้ไปแก้ไขมาหรือไม่

เพื่อนๆแต่ละกลุ่มนำงานของกลุ่มตัวเองออกไปนำเสนอ

หน่วยปลา



 หน่วยไข่



 หน่วยอวกาศรอบตัวฉัน



 หน่วยผลไม้



 หน่วยดอกไม้



 หน่วยต้นไม้



หน่วยยานพาหนะ




ทักษะที่ได้รับ
1.มาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
2.การจัดกิจกรรมฝฃให้เชื่อมโยงกับมาตรฐาน
3.การสอนตามมาตรฐาน
4.การเปลี่ยนแปลง
5.การสื่อสารในลักษณะต่างๆของเด็ก
6.เกณฑ์ในการจัดกลุ่มหรือประเภท
7.การเปรียบเทียบ

การประยุกต์ใช้
     การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับมาตรฐานการเรียนรู้ของแต่ละหน่วย
  

ประเมินผล

ประเมินตนเอง สามารถจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับมาตรฐานได้

ประเมินเพื่อน เพื่อนๆมีความเข้าใจและช่วยกันทำงาานเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์ อาจารย์มีหลักการอธิบายที่เข้าใจได้ง่าย





บันทึกการเรียน
วันอังคารที่ 18 ตุลาคม 2559

บรรยากาศในห้องเรียน
   วันนี้อาจารย์ได้พูดคุยให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับของเล่นที่เป็นงานกลุ่มว่าสามารถจัดกับเด็กได้อย่างไรและควารแก้ไขเพิ่มเติมตรงไหร สามรถเชื่อมโยงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในเรื่องไหนได้บ้าง



หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน แล้วให้สมาชิกในกลุ่มปรึกษากันว่าจะจักการเรียนรู้ในหน่วยอะไร จากนั้นก็วางแผนแล้วก็เขียนลงกระดาษชาร์ต







หน่วยที่เพื่อนๆแต่ละกลุ่มเลือกทำก็จะมี ดังนี้
1.หน่วยยานพาหนะ
2.หน่วยดอกไม้
3.หน่วยไข่
4.หน่วยอวกาศ
5.หน่วยต้นไม้
6.หน่วยปลา
7.หน่วยผลไม้

ทักษะที่ได้รับ

วิทยาศาสตร์คืออะไร

ธีระชัย (2540) กล่าวว่า วิทยาศาสตร์ เป็นการศึกษาเรื่องราวของปรากฏการณ์ธรรมชาติและแสวงหากฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ดังนั้น วิทยาศาสตร์จึงหมายรวมถึง เนื้อหาสาระของความรู้ที่เกี่ยวกับธรรมชาติ การคิดอย่างมีระเบียบวิธี รวมทั้งวิธีการที่ใช้ในการแสวงหาความรู้และเจตคติทางวิทยาศาสตร์

Sund (1964) กล่าวว่า วิทยาศาสตร์ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับปรากฎการณ์ธรรมชาติอย่างเป็นระบบ รวมทั้งองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับธรรมชาติ เจตคติทางวิทยาศาสตร์และกระบวนการหรือวิธีการเสาะแสวงหาความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับธรรมชาติ

วิทยาศาสตร์ คือ การศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ อย่างเป็นระบบ ด้วยกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ รวมทั้งกระบวนการที่จะได้มาซึ่งองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Body of scientific knowledge) วิธีการทางวิทยาศาสตร์(Scientific method) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Science process skills) และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific attitude) หรือจิตวิทยาศาสตร์ (Scientific mind)

การประยุกต์ใช้    การจัดหน่วยเรียนรู้สำหรับเด็กที่เหมาะสมเข้าใจง่ายและมีความสอดคล้องกับเนื้อหาสาระทางวิทยาศาสตร์ และสามารถสอดคล้องหรือเชื่อมโยงได้อย่างหลากหลายและเข้าใจง่าย
 

ประเมินผล

ประเมินตนเอง มีความรู้เรื่องการเลือกหน่วยที่เหมาะในการนำมาจัดกิจกรรมให้กับเด็ก

ประเมินเพื่อน เพื่อนๆมีความตั้งใจในการทำงานที่อาจารย์ได้มอบหมายให้

ประเมินอาจารย์ อาจารย์ได้อธิบายและยกตัวอย่างการจัดกิจกรรมที่สามารถเข้าใจได้ง่าย




วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2559



บันทึกการเรียน
วันอังคารที่ 11 ตุลาคม 2559

บรรยายกาศในห้องเรียน
     วันนี้อาจารย์แจกกระดาษเปล่าให้กับนักศึกษาทุกคนแล้วให้เขียนขั้นตอนการทำของเล่นของตนเองลงในกระดาษจากนั้นก็ให้นำไปติดไว้ที่กระดานหน้าห้องเรียน แล้วก็ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 8 คน แล้วก็ให้ปรึกษากันว่าจะเอาการทำของเล่นของใครมาเป็นชิ้นงานที่อาจารย์จะให้ทำเป็นกลุ่ม





และกลุ่มของพวกเราลงความเห็นกันว่า เอาที่ยิงลูกบอลจากไม้ไอติม




ของเล่นที่แต่ละกลุ่มเลือก

1.ยิงบอลจากไม้ไอติม



2.ขวดน้ำนักขนของ



3.เครื่องเป่าลม



4.รถพลังลม




ทักษะที่ได้รับ
1.การเรียนแบบมีลำดับขั้น
2.การวางแผน
3.การทำงานโดยมีหลักการทางวิทยาศาสตร์
4.การเชื่อมโยงเพื่อให้เด็กเกิดความเเปลกใหม่
5.การเกิดการริเริ่มเพื่อนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์

การประยุกต์ใช้

  การนำความรู้เดิมที่เรามีมาช่วยกันคิดต่อยอดเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ดีและสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงกับเด็กเพื่อให้เกิดประโยชน์และเหมาะสมที่สุด

ประเมินผล

ประเมินตนเอง มีความเข้าใจในการทำของเล่นวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมกับเด็ก การปฎิบัติตามขั้นตามหลักวิทยาศาสตร์

ประเมินเพื่อน เพื่อนๆต่างก็มีความคิดที่สร้างสรรค์ และมีความสนใจและช่วยกันทำงานกลุ่มที่ได้รับมอบหมายอย่างดี

ประเมินอาจารย์ อาจารย์มีหลักการสอนและยกตัวอย่างการทำกิจกรรมที่เด่นและเห็นภาพได้ชัดเจนเพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจที่ง่ายขึ้น



วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559



วันอังคารที่ 4 ตุลาคม 2559
ไม่ได้ไปเรียนเนื่องจากไม่สบาย


วันอังคาร ที่ 27 กันยายน 2559
ตรงกับวันสอบมิดเทอม

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559


สรุปบทความ

       ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ (Natural phenomena) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มนุษย์ไม่ได้เป็นผู้สร้างขึ้น แต่มีผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์โดยตรง เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า รุ้งกินน้ำ กลางวัน กลางคืน ภาวะโลกร้อน รวมไปถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติบางอย่างที่นานๆครั้งจะปรากฎให้เห็น เช่น สุริยุปราคา จันทรุปราคา ฝนดาวตก การเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ ปรากฏการณ์ธรรมชาติเป็นเรื่องหนึ่งที่เด็กควรเรียนรู้ในสาระธรรมชาติรอบตัว ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 เพื่อฝึกทักษะการคิดแบบวิทยาศาสตร์โดยผ่านกิจกรรมการทดลอง การปฏิบัติจริงจากสถานการณ์จริง หรือสถานการณ์ที่สร้างขึ้นทั้งภายในห้องเรียน และขณะอยู่กับพ่อแม่ที่บ้าน

การสอนเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติมีประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัยอย่างไร

      การเรียนรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติช่วยฝึกฝนทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก เช่น
ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกเปรียบเทียบ ทักษะการรับฟัง ทักษะความตั้งใจ ทักษะการค้นพบ
ทำให้เด็กได้พัฒนาและสร้างความคิดรวบยอดในสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ เป็นคนที่มีความสามารถในการคิดแบบวิทยาศาสตร์ ไม่เชื่อสิ่งใดง่ายๆ  ทำให้เด็กมีเหตุผลในการกระทำสิ่งต่างๆ และสามารถใช้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาทั้งในส่วนตนและส่วนรวมได้ เช่น การจัดกิจกรรมที่ทำให้เด็กมีความเข้าใจและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการเกิดรุ้งกินน้ำจากการเป่าฟองสบู่ การเกิดฝนจากการต้มน้ำ การต้มไข่ การซักผ้าและนำไปผึ่งแดด การเกิดกลางวัน กลางคืนจากการส่องแสงจากไฟฉายให้ไปกระทบกับพื้นผิวของลูกบอล เป็นต้น ซึ่งลักษณะการทดลองการเกิดปรากฏการณ์ง่ายๆดังกล่าว ทำให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจและมีความคิดรวบยอดได้ และที่สำคัญเป็นการเรียนรู้ที่ผ่านประสบการณ์ตรง เด็กได้ลงมือปฏิบัติและค้นพบองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง

สรุปวิจัย

การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ

ผู้วิจัย เอราวรรณ ศรีจักร

ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย

ประเด็นที่ 1 วิทยาศาสตร์มีความสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต
ประเด็นที่ 2 วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคมแห่งความรู้คนทุกคนจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์
ประเด็นที่ 3 การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล ซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ประเด็นที่ 4 เด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 4 - 5 ปีมีลักษณะเฉพาะตัว คือมีความเชื่อว่าทุกอย่างมีชีวิตมีความรู้สึกและเชื่อว่าทุกสิ่งในโลกมีจุดมุงหมายและชอบตั้งคำถามโดยใช้คำว่า”ทำไม”
ประเด็นที่ 5 การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยนั้นจะมาจากการใช้ประสาทสัมผัส เป็นหลักการเรียนรู้ สื่อสำหรับเด็กในการเรียนรู้มีหลายชนิด สื่อแต่ละชนิดสามารถปรับใช้ได้กับหลายจุดประสงค์
ประเด็นที่ 6 แบบฝึกทักษะเป็นเอกสารที่สร้างขึ้นเพื่อฝึกให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านสติปัญญาและทักษะต่างๆ มีรูปแบบวิธีการ ที่มีแบบแผน กฎเกณฑ์โดยมีคำสั่งของแต่ละกิจกรรมตามเนื้อหาของจุดประสงค์ของแบบฝึกแต่ละเล่ม ซึ่งเป็นแบบฝึกเกี่ยวกับภาพ ครูจะใช้ประกอบขณะเด็กทำกิจกรรมหรือตอนสรุปการเรียน

ความมุ่งหมายของการวิจัย
1.เพื่อศึกษาระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายทักษะ หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกหัด
2.เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประชุดแบบฝึกทักษะ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยใช้เป็นแนวทางในการใช้แบบฝึกทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและเป็นแนวทางสำหรับครูในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อที่เป็นแบบฝึกทักษะหรือสื่ออื่นๆแก่เด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ

ขอบเขตของการศึกษาวิจัย

ตัวแปรในการวิจัย ตัวแปรอิสระ/ตัวแปรต้น คือ กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์

ตัวแปรตาม/ตัวจัดกระทำ ได้แก่ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 4 ด้าน คือ
1.สังเกต
2.จำแนกประเภท
3.สื่อสาร
4.การลงความเห็น

สมมุติฐานการวิจัย เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะมีการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน
ประชากร นักเรียนชาย-หญิงที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทรเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา 2
วิธีดำเนินการวิจัย การเลือกกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปีกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทรเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา 2 ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับฉลากเลือกจำนวน 1 ห้องเรียน จากจำนวน 2 ห้องเรียน และผู้วิจัยสุ่มนักเรียนเข้ากลุ่มทดลอง 15 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.ชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ โดยใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้ ของ รศ.ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ
2.แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สาระตามชุดแบบฝึกทักษะ
3.แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

สรุปผลการวิจัย

1.พัฒนาการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอยู่ในระดับดีมากและจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับ ดีมาก 3 ทักษะคือ ทักษะการสังเกต ทักษะการสื่อสาร และทักษะการลงความเห็น และอยู่ในระดับดี 1 ทักษะคือ ทักษะการจำแนกประเภท
2.พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ.01


วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559



บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
วันอังคารที่ 20 กันยายน 2559


บรรยากาศในห้องเรียน
บรรยากาศวันนี้อาจารย์แจกกระดาษให้กับนักศึกษาทุกคนแล้วให้คัด ก-ฮ ซึ่่งครั้งนี้เป็นการคัดลายมือครั้งที่ 3 เพื่อนๆทุกคนต่างก็ตั้งใจคัดลายมือกันเนื่องจากอาจารย์ให้เวลาในการทำน้อยกว่าครั้งก่อนๆที่เคยทำ

ผลงานคัด ก-ฮ ครั้งที่ 3


   หลังจากคัดลายมือกันเสร็จทุกคน ครูก็ให้นำเสนอของเล่นของตนเองว่าสามารถปรับใช้หรือเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ในเรื่ิองใดบ้าง ของเล่นที่เพื่อนๆทำมาก็จะเกี่ยวข้องกับ  1.เรื่องอากาศ   2.เเรงโน้มถ่วง   3.เเรงดัน  4.เเรงพยุงที่เกิดขึ้นกับของเล่น   5.ความหนาแน่น  6.แรงโน้มถ่วง
   และหลังจากนำเสนอของเล่นกันทุกคนแล้วอาจารย์ก็ให้ออกไปนำเสนอของเล่นที่ทำเป็นกลุ่ม

กลุ่มที่1 กล่องพิศวง





หลักการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับแสง

      เป็นปรากฏการณ์ที่แสงเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นค่าหนึ่งมายังตัวกลางที่มีค่าความหนาแน่นอีกตัวหนึ่ง ทำให้แสงตกกระทบกับตัวกลางใหม่ แล้วสะท้อนกลับสู่ตัวเดิม เช่น การสะท้อนของแสงจากอากาศกับผิวหน้าของกระจกเงาจะเกิดการสะท้อนแสงที่ผิวหน้าของกระจกเงาราบแล้วกลับสู่อากาศดังเดิม เมื่อแสงตกกระทบกับผิวหน้าของตัวกลางใดๆ ปริมาณและทิศทางของการสะท้อนของแสง จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของพื้นผิวหน้าของตัวกลางที่ตกกระทบ จากรูป เมื่อลำแสงขนานตกกระทบพื้นผิวหน้าวัตถุที่เรียบ แสงจะสะท้อนเป็นลำแสงขนานเหมือนกับลำแสงที่ตกกระทบ การสะท้อนบนพื้นผิวหน้าที่เรียบ โดยเรียกว่า การสะท้อนแบบสม่ำเสมอ


กลุ่มที่ 2 ลูกกลิ้งหกคเมน


อุปกรณ์

1.กล่องกระดาษ 
2.ขวดน้ำพลาสติก
3.มีดคัตเตอร์
4.ปืนกาว
5.ไม้บรรทัด
6.ลูกแก้วหลากสี
7.กรรไกร
8.กาว
9.กระดาษสี
10.ตะเกียบ

ขั้นตอนการทำ
1.เริ่มจากการเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม
2.นำขวดน้ำพลาสติกมาตัดตรงปากขวดและตูดขวดออก
3.หลังจากตัดทั้งสองข้างครบตามจำนวนขวดที่ต้องการแล้วก็ใช้คัตเตอร์แบ่งผ่าครึ่งขวดให้เป็นสองชิ้น
4.แล้วนำขวดที่ผ่าครึ่งมาติดเข้ากับตะเกียบโดยใช้ปืนกาวเป็นตัวเชื่อมให้ติดกัน และติดไปจนครบตามที่ต้องการ 
5.จากนั้นก็ทดลองว่าลูกแก้วกลิ้งได้ดีหรทืไม่ หรือมีปัญหาตรงไหนที่ต้องแก้ไขหรือเปล่า
6.หลังจากตรวจเช็คเสร็จก็แก้ไขตรงจุดที่มีปัญหาจากนั้นก็ตกแต่งให้สวยงามตามที่ต้องการ
7.วัดกระดาษลังที่เตรียมไว้โดนใช้ของเล่นที่ทำเป็นเกณฑ์ โดยวัดให้มีขนาดใหญ่กว่าของเล่นประมาณ2-3เท่า
8.หลังจากนั้นก็นำทั้งสองสิ่งมาประกอบเข้าด้วยกัน เป็นอันเสร็จ

หลักการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง

     ความโน้มถ่วง เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งทำให้วัตถุกายภาพทั้งหมดดึงดูดเข้าหากัน ความโน้มถ่วงทำให้วัตถุกายภาพมีน้ำหนักและทำให้วัตถุตกสู่พื้นเมื่อปล่อย แรงโน้มถ่วงเป็นหนึ่งในสี่แรงหลัก ซึ่งประกอบด้วย แรงโน้มถ่วง แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน และ แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม ในจำนวนแรงทั้งสี่แรงหลัก แรงโน้มถ่วงมีค่าน้อยที่สุด ถึงแม้ว่าแรงโน้มถ่วงจะเป็นแรงที่เราไม่สามารถรับรู้ได้มากนักเพราะความเบาบางของแรงที่กระทำต่อเรา แต่ก็เป็นแรงเดียวที่ยึดเหนี่ยวเราไว้กับพื้นโลก แรงโน้มถ่วงมีความแรงแปรผันตรงกับมวล และแปรผกผันกับระยะทางยกกำลังสอง ไม่มีการลดทอนหรือถูกดูดซับเนื่องจากมวลใดๆ ทำให้แรงโน้มถ่วงเป็นแรงที่สำคัญมากในการยึดเหนี่ยวเอกภพไว้ด้วยกัน
นอกเหนือจากความโน้มถ่วงที่เกิดระหว่างมวลแล้ว ความโน้มถ่วงยังสามารถเกิดขึ้นได้จากการที่เราเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ตามกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน


กลุ่มที่ 3 ไฟฉายหลากสี



หลักการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับแสง

    แสงคือรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าที่อยู่ในช่วงสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถมองเห็นได้
แสงสามารถผ่านวัตถุโปร่งใสได้ เช่น กระจกฝ้า กระดาษฝ้า พลาสติกฝ้า วัตถุเหล่านี้ จะกระจายแสงออกไปโดยรอบ ทำให้แสงเคลื่อนที่ไม่เป็นเส้นตรงเมื่อเคลื่อนที่ผ่านวัตถุโปร่งแสง

กลุ่มที่ 4  กล้องเพอริสโคป




หลักการทางวิทยาศาสตร์
  
  กล้องเพอริสโคปใช้หลักการสะท้อนของแสงผ่านกระจก 2 ชิ้น ที่เอียงทำมุม45 องศา มาใช้ แสงที่ส่องผ่านเข้ามาตกกระทบกับกระจกจะสะท้อนทำมุม 90องศาทำให้เราสามารถมองเห็นภาพวัตถุที่อยู่สูงเหนือระดับสายตาได้ ซึ่งภาพที่เห็นก็จะอยู่ในทิศทางเดียวกับของจริง

******************************************

หลังจากที่นำเสนอของเล่นเสร็จอาจารย์ก็ได้นำภาพของเล่นที่รุ่นพี่ทำไว้มาให้ดู




      หลังจากที่ดูของเล่นกันครบแล้วอาจารย์ได้แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่นแล้วให้นักศึกษาทาบมือลงบนกระดาษแล้ววาดภาพตามมือของตนเอง จากนั้นก็ให้ใช้ปากกาเมจิกวาดเส้นโค้งบนภาพมือที่เราวาดพอวาดเสร็จก็เปลี่ยนสีปากกาแล้วขีดเส้นโดยขีดเส้นที่สองให้ติดกันกับเส้นเเรกที่ทำไว้  ดังรูปภาพนี้


*กิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำจะเป็นการทำภาพให้มีมิติขึ้นจากการทำเส้นโค้งและใช้สีสองสีเขียนเส้นติดกัน


ต่อมาเป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องการไหลของน้ำที่ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ จากภาพคือการทดลองการไหลของน้ำ







***ต่อมาอาจารย์ให้พับกระดาษเป็นสี่เหลี่ยมแล้วตัดเป็นดอกไม้  ดังภาพ


       จากนั้นอาจารย์ก็ให้พับๆดอกไม้ที่ทำแล้วนำไปลอยในน้ำแล้วคอยสังเกตการเปลี่ยนแปลง จะพบการเปลี่ยนแปลงคือ กระดาษรูปดอกไม้ที่เราพับเเล้วเอาไปลอยไว้ในน้ำเกิดการคลี่ออกคล้ายกับดอกไม้บาน
สาเหตุเกิดมาจากน้ำเข้าไปซึมซับตามพื้นที่ว่างของกระดาษทำให้กระดาษอ่อนแล้วเกิดการคลี่ออกตามที่เราได้ทดลองทำ



****งานที่ทำส่งครู






ทักษะที่ได้รับ
1.ทักษะการนำเสนองาน
2.การสังเกตการทดลอง
3.การใช่ความคิดสร้างสรรค์
4.การออกแบบของเล่น
5.การคัดลายมือ
6.การทำงานเป็นกลุ่ม

การประยุกต์ใช้ 
   การออกแบบของเล่นที่เหมาะกับพัฒนาการ และการทำการทดลองที่ง่ายๆเด็กสามารถทำและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถนำไปต่อยอดเป็นความรู้ใหม่ได้ การเอาสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วมาดัดเเปลงเป็นสิ่งใหม่แล้วสามารถนำสอนให้กับเด็กๆได้

ประเมินผล

ประเมินตนเอง  มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์สอนได้ดีพอสมควร

ประเมินเพื่อน เพื่อนๆมีความตั้งใจในการเรียนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้ทำในห้องเรียนเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์  อาจารย์มีหลักการสอนที่น่าสนใจและมีการนำกิจกรรมต่างๆมาให้นักศึกษาได้ทำเพื่อที่จะได้มีความเข้าใจในการเรียนมากยิ่งขึ้น


*************************************************