วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559


สรุปบทความ

       ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ (Natural phenomena) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มนุษย์ไม่ได้เป็นผู้สร้างขึ้น แต่มีผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์โดยตรง เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า รุ้งกินน้ำ กลางวัน กลางคืน ภาวะโลกร้อน รวมไปถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติบางอย่างที่นานๆครั้งจะปรากฎให้เห็น เช่น สุริยุปราคา จันทรุปราคา ฝนดาวตก การเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ ปรากฏการณ์ธรรมชาติเป็นเรื่องหนึ่งที่เด็กควรเรียนรู้ในสาระธรรมชาติรอบตัว ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 เพื่อฝึกทักษะการคิดแบบวิทยาศาสตร์โดยผ่านกิจกรรมการทดลอง การปฏิบัติจริงจากสถานการณ์จริง หรือสถานการณ์ที่สร้างขึ้นทั้งภายในห้องเรียน และขณะอยู่กับพ่อแม่ที่บ้าน

การสอนเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติมีประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัยอย่างไร

      การเรียนรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติช่วยฝึกฝนทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก เช่น
ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกเปรียบเทียบ ทักษะการรับฟัง ทักษะความตั้งใจ ทักษะการค้นพบ
ทำให้เด็กได้พัฒนาและสร้างความคิดรวบยอดในสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ เป็นคนที่มีความสามารถในการคิดแบบวิทยาศาสตร์ ไม่เชื่อสิ่งใดง่ายๆ  ทำให้เด็กมีเหตุผลในการกระทำสิ่งต่างๆ และสามารถใช้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาทั้งในส่วนตนและส่วนรวมได้ เช่น การจัดกิจกรรมที่ทำให้เด็กมีความเข้าใจและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการเกิดรุ้งกินน้ำจากการเป่าฟองสบู่ การเกิดฝนจากการต้มน้ำ การต้มไข่ การซักผ้าและนำไปผึ่งแดด การเกิดกลางวัน กลางคืนจากการส่องแสงจากไฟฉายให้ไปกระทบกับพื้นผิวของลูกบอล เป็นต้น ซึ่งลักษณะการทดลองการเกิดปรากฏการณ์ง่ายๆดังกล่าว ทำให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจและมีความคิดรวบยอดได้ และที่สำคัญเป็นการเรียนรู้ที่ผ่านประสบการณ์ตรง เด็กได้ลงมือปฏิบัติและค้นพบองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง

สรุปวิจัย

การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ

ผู้วิจัย เอราวรรณ ศรีจักร

ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย

ประเด็นที่ 1 วิทยาศาสตร์มีความสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต
ประเด็นที่ 2 วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคมแห่งความรู้คนทุกคนจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์
ประเด็นที่ 3 การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล ซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ประเด็นที่ 4 เด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 4 - 5 ปีมีลักษณะเฉพาะตัว คือมีความเชื่อว่าทุกอย่างมีชีวิตมีความรู้สึกและเชื่อว่าทุกสิ่งในโลกมีจุดมุงหมายและชอบตั้งคำถามโดยใช้คำว่า”ทำไม”
ประเด็นที่ 5 การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยนั้นจะมาจากการใช้ประสาทสัมผัส เป็นหลักการเรียนรู้ สื่อสำหรับเด็กในการเรียนรู้มีหลายชนิด สื่อแต่ละชนิดสามารถปรับใช้ได้กับหลายจุดประสงค์
ประเด็นที่ 6 แบบฝึกทักษะเป็นเอกสารที่สร้างขึ้นเพื่อฝึกให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านสติปัญญาและทักษะต่างๆ มีรูปแบบวิธีการ ที่มีแบบแผน กฎเกณฑ์โดยมีคำสั่งของแต่ละกิจกรรมตามเนื้อหาของจุดประสงค์ของแบบฝึกแต่ละเล่ม ซึ่งเป็นแบบฝึกเกี่ยวกับภาพ ครูจะใช้ประกอบขณะเด็กทำกิจกรรมหรือตอนสรุปการเรียน

ความมุ่งหมายของการวิจัย
1.เพื่อศึกษาระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายทักษะ หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกหัด
2.เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประชุดแบบฝึกทักษะ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยใช้เป็นแนวทางในการใช้แบบฝึกทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและเป็นแนวทางสำหรับครูในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อที่เป็นแบบฝึกทักษะหรือสื่ออื่นๆแก่เด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ

ขอบเขตของการศึกษาวิจัย

ตัวแปรในการวิจัย ตัวแปรอิสระ/ตัวแปรต้น คือ กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์

ตัวแปรตาม/ตัวจัดกระทำ ได้แก่ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 4 ด้าน คือ
1.สังเกต
2.จำแนกประเภท
3.สื่อสาร
4.การลงความเห็น

สมมุติฐานการวิจัย เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะมีการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน
ประชากร นักเรียนชาย-หญิงที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทรเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา 2
วิธีดำเนินการวิจัย การเลือกกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปีกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทรเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา 2 ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับฉลากเลือกจำนวน 1 ห้องเรียน จากจำนวน 2 ห้องเรียน และผู้วิจัยสุ่มนักเรียนเข้ากลุ่มทดลอง 15 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.ชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ โดยใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้ ของ รศ.ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ
2.แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สาระตามชุดแบบฝึกทักษะ
3.แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

สรุปผลการวิจัย

1.พัฒนาการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอยู่ในระดับดีมากและจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับ ดีมาก 3 ทักษะคือ ทักษะการสังเกต ทักษะการสื่อสาร และทักษะการลงความเห็น และอยู่ในระดับดี 1 ทักษะคือ ทักษะการจำแนกประเภท
2.พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ.01


วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559



บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
วันอังคารที่ 20 กันยายน 2559


บรรยากาศในห้องเรียน
บรรยากาศวันนี้อาจารย์แจกกระดาษให้กับนักศึกษาทุกคนแล้วให้คัด ก-ฮ ซึ่่งครั้งนี้เป็นการคัดลายมือครั้งที่ 3 เพื่อนๆทุกคนต่างก็ตั้งใจคัดลายมือกันเนื่องจากอาจารย์ให้เวลาในการทำน้อยกว่าครั้งก่อนๆที่เคยทำ

ผลงานคัด ก-ฮ ครั้งที่ 3


   หลังจากคัดลายมือกันเสร็จทุกคน ครูก็ให้นำเสนอของเล่นของตนเองว่าสามารถปรับใช้หรือเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ในเรื่ิองใดบ้าง ของเล่นที่เพื่อนๆทำมาก็จะเกี่ยวข้องกับ  1.เรื่องอากาศ   2.เเรงโน้มถ่วง   3.เเรงดัน  4.เเรงพยุงที่เกิดขึ้นกับของเล่น   5.ความหนาแน่น  6.แรงโน้มถ่วง
   และหลังจากนำเสนอของเล่นกันทุกคนแล้วอาจารย์ก็ให้ออกไปนำเสนอของเล่นที่ทำเป็นกลุ่ม

กลุ่มที่1 กล่องพิศวง





หลักการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับแสง

      เป็นปรากฏการณ์ที่แสงเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นค่าหนึ่งมายังตัวกลางที่มีค่าความหนาแน่นอีกตัวหนึ่ง ทำให้แสงตกกระทบกับตัวกลางใหม่ แล้วสะท้อนกลับสู่ตัวเดิม เช่น การสะท้อนของแสงจากอากาศกับผิวหน้าของกระจกเงาจะเกิดการสะท้อนแสงที่ผิวหน้าของกระจกเงาราบแล้วกลับสู่อากาศดังเดิม เมื่อแสงตกกระทบกับผิวหน้าของตัวกลางใดๆ ปริมาณและทิศทางของการสะท้อนของแสง จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของพื้นผิวหน้าของตัวกลางที่ตกกระทบ จากรูป เมื่อลำแสงขนานตกกระทบพื้นผิวหน้าวัตถุที่เรียบ แสงจะสะท้อนเป็นลำแสงขนานเหมือนกับลำแสงที่ตกกระทบ การสะท้อนบนพื้นผิวหน้าที่เรียบ โดยเรียกว่า การสะท้อนแบบสม่ำเสมอ


กลุ่มที่ 2 ลูกกลิ้งหกคเมน


อุปกรณ์

1.กล่องกระดาษ 
2.ขวดน้ำพลาสติก
3.มีดคัตเตอร์
4.ปืนกาว
5.ไม้บรรทัด
6.ลูกแก้วหลากสี
7.กรรไกร
8.กาว
9.กระดาษสี
10.ตะเกียบ

ขั้นตอนการทำ
1.เริ่มจากการเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม
2.นำขวดน้ำพลาสติกมาตัดตรงปากขวดและตูดขวดออก
3.หลังจากตัดทั้งสองข้างครบตามจำนวนขวดที่ต้องการแล้วก็ใช้คัตเตอร์แบ่งผ่าครึ่งขวดให้เป็นสองชิ้น
4.แล้วนำขวดที่ผ่าครึ่งมาติดเข้ากับตะเกียบโดยใช้ปืนกาวเป็นตัวเชื่อมให้ติดกัน และติดไปจนครบตามที่ต้องการ 
5.จากนั้นก็ทดลองว่าลูกแก้วกลิ้งได้ดีหรทืไม่ หรือมีปัญหาตรงไหนที่ต้องแก้ไขหรือเปล่า
6.หลังจากตรวจเช็คเสร็จก็แก้ไขตรงจุดที่มีปัญหาจากนั้นก็ตกแต่งให้สวยงามตามที่ต้องการ
7.วัดกระดาษลังที่เตรียมไว้โดนใช้ของเล่นที่ทำเป็นเกณฑ์ โดยวัดให้มีขนาดใหญ่กว่าของเล่นประมาณ2-3เท่า
8.หลังจากนั้นก็นำทั้งสองสิ่งมาประกอบเข้าด้วยกัน เป็นอันเสร็จ

หลักการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง

     ความโน้มถ่วง เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งทำให้วัตถุกายภาพทั้งหมดดึงดูดเข้าหากัน ความโน้มถ่วงทำให้วัตถุกายภาพมีน้ำหนักและทำให้วัตถุตกสู่พื้นเมื่อปล่อย แรงโน้มถ่วงเป็นหนึ่งในสี่แรงหลัก ซึ่งประกอบด้วย แรงโน้มถ่วง แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน และ แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม ในจำนวนแรงทั้งสี่แรงหลัก แรงโน้มถ่วงมีค่าน้อยที่สุด ถึงแม้ว่าแรงโน้มถ่วงจะเป็นแรงที่เราไม่สามารถรับรู้ได้มากนักเพราะความเบาบางของแรงที่กระทำต่อเรา แต่ก็เป็นแรงเดียวที่ยึดเหนี่ยวเราไว้กับพื้นโลก แรงโน้มถ่วงมีความแรงแปรผันตรงกับมวล และแปรผกผันกับระยะทางยกกำลังสอง ไม่มีการลดทอนหรือถูกดูดซับเนื่องจากมวลใดๆ ทำให้แรงโน้มถ่วงเป็นแรงที่สำคัญมากในการยึดเหนี่ยวเอกภพไว้ด้วยกัน
นอกเหนือจากความโน้มถ่วงที่เกิดระหว่างมวลแล้ว ความโน้มถ่วงยังสามารถเกิดขึ้นได้จากการที่เราเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ตามกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน


กลุ่มที่ 3 ไฟฉายหลากสี



หลักการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับแสง

    แสงคือรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าที่อยู่ในช่วงสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถมองเห็นได้
แสงสามารถผ่านวัตถุโปร่งใสได้ เช่น กระจกฝ้า กระดาษฝ้า พลาสติกฝ้า วัตถุเหล่านี้ จะกระจายแสงออกไปโดยรอบ ทำให้แสงเคลื่อนที่ไม่เป็นเส้นตรงเมื่อเคลื่อนที่ผ่านวัตถุโปร่งแสง

กลุ่มที่ 4  กล้องเพอริสโคป




หลักการทางวิทยาศาสตร์
  
  กล้องเพอริสโคปใช้หลักการสะท้อนของแสงผ่านกระจก 2 ชิ้น ที่เอียงทำมุม45 องศา มาใช้ แสงที่ส่องผ่านเข้ามาตกกระทบกับกระจกจะสะท้อนทำมุม 90องศาทำให้เราสามารถมองเห็นภาพวัตถุที่อยู่สูงเหนือระดับสายตาได้ ซึ่งภาพที่เห็นก็จะอยู่ในทิศทางเดียวกับของจริง

******************************************

หลังจากที่นำเสนอของเล่นเสร็จอาจารย์ก็ได้นำภาพของเล่นที่รุ่นพี่ทำไว้มาให้ดู




      หลังจากที่ดูของเล่นกันครบแล้วอาจารย์ได้แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่นแล้วให้นักศึกษาทาบมือลงบนกระดาษแล้ววาดภาพตามมือของตนเอง จากนั้นก็ให้ใช้ปากกาเมจิกวาดเส้นโค้งบนภาพมือที่เราวาดพอวาดเสร็จก็เปลี่ยนสีปากกาแล้วขีดเส้นโดยขีดเส้นที่สองให้ติดกันกับเส้นเเรกที่ทำไว้  ดังรูปภาพนี้


*กิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำจะเป็นการทำภาพให้มีมิติขึ้นจากการทำเส้นโค้งและใช้สีสองสีเขียนเส้นติดกัน


ต่อมาเป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องการไหลของน้ำที่ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ จากภาพคือการทดลองการไหลของน้ำ







***ต่อมาอาจารย์ให้พับกระดาษเป็นสี่เหลี่ยมแล้วตัดเป็นดอกไม้  ดังภาพ


       จากนั้นอาจารย์ก็ให้พับๆดอกไม้ที่ทำแล้วนำไปลอยในน้ำแล้วคอยสังเกตการเปลี่ยนแปลง จะพบการเปลี่ยนแปลงคือ กระดาษรูปดอกไม้ที่เราพับเเล้วเอาไปลอยไว้ในน้ำเกิดการคลี่ออกคล้ายกับดอกไม้บาน
สาเหตุเกิดมาจากน้ำเข้าไปซึมซับตามพื้นที่ว่างของกระดาษทำให้กระดาษอ่อนแล้วเกิดการคลี่ออกตามที่เราได้ทดลองทำ



****งานที่ทำส่งครู






ทักษะที่ได้รับ
1.ทักษะการนำเสนองาน
2.การสังเกตการทดลอง
3.การใช่ความคิดสร้างสรรค์
4.การออกแบบของเล่น
5.การคัดลายมือ
6.การทำงานเป็นกลุ่ม

การประยุกต์ใช้ 
   การออกแบบของเล่นที่เหมาะกับพัฒนาการ และการทำการทดลองที่ง่ายๆเด็กสามารถทำและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถนำไปต่อยอดเป็นความรู้ใหม่ได้ การเอาสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วมาดัดเเปลงเป็นสิ่งใหม่แล้วสามารถนำสอนให้กับเด็กๆได้

ประเมินผล

ประเมินตนเอง  มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์สอนได้ดีพอสมควร

ประเมินเพื่อน เพื่อนๆมีความตั้งใจในการเรียนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้ทำในห้องเรียนเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์  อาจารย์มีหลักการสอนที่น่าสนใจและมีการนำกิจกรรมต่างๆมาให้นักศึกษาได้ทำเพื่อที่จะได้มีความเข้าใจในการเรียนมากยิ่งขึ้น


*************************************************















วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559



บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
วันอังคารที่ 13 กันยายน 2559


บรรยากาศในห้องเรียน

  อาจารย์ให้คัด ก-ฮ แต่ครั้งนี้อาจารย์ให้คัดโยไม่มีเส้นปะแบบตัวบรรจงเต็มบรรทัด ครั้งนี้เป็นการคัดครั้งที่ 2 อาจารย์ให้คัดเพื่อที่จะเปรียบเทียบให้ดูว่านักศึกษามีการพัฒนาในการคัดลายมือที่ดีขึ้นหรือไม่อย่างไร

ผลงานการคัดลายมือครั้งที่ 2



**************************************

    หลังจากคัดลายมือกันเสร็จทุกคนอาจารย์ก็ได้เปิดของเล่นวิทยาศาสตร์ของรุ่นพี่ๆที่ทำไว้ให้ดูเป็นตัวอย่างในการนำไปปรับปรุงของตัวเองให้ดีขึ้น  จากนั้นอาจารย์ก็ได้ถามกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดเงาและไม่มีคนตอบถูกอาจารย์เลยให้ไปหาข้อมูลเรื่องเงามา

เงาคืออะไร

เงา คือ บริเวณที่แสงไม่สามารถส่องผ่านไปถึงหรือส่องไปถึงเพียงบางส่วนเมื่อมีตัวกลางทึบแสงมากั้นระหว่างแหล่งกำเนิดแสงกับฉาก จึงปรากฏเห็นเป็นเงาซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับวัตถุที่มากั้น โดยเราสามารถแยกเงาได้เป็น2 ชนิด คือ
1. เงามืด เป็นบริเวณที่วัตถุทึบแสงขวางทางเดินของแสงและสามารถบังแสงได้ทั้งหมด ทำให้เกิดบริเวณที่มืดสนิท คือการที่แสงสว่างส่องไม่ถึงอีกด้านหนึ่งนั่นเอง
2. เงามัว เป็นบริเวณที่สว่างเพียงเล็กน้อย เป็นเพราะวัตถุทึบแสงไม่สามารถบังแสงได้ทั้งหมด
ส่วนความกว้างของเงามืดและเงามัวนั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของแหล่งกำเนิดแสง วัตถุกั้นแสง ฉากรับแสง และระยะห่างของแหล่งกำเนิดแสงกับวัตถุที่กั้นแสง

ประโยชน์ของเงา

มนุษย์สามารถใช้ประโยชน์จากเงาที่เกิดขึ้นได้ ดังนี้
1. ภูมิปัญญาของคนไทยในสมัยโบราณใช้การเกิดเงาในการประกอบอาชีพ เช่น นำไปใช้ในการแสดงหนังตะลุง หรือใช้มือทำให้เกิดเงาเป็นรูปร่างๆ เพื่อประกอบการเล่านิทาน
2. คนไทยในสมัยก่อนอาศัยการสังเกตเงาที่เกิดจากดวงอาทิตย์นำไปใช้ประโยชน์ในการประมาณเวลาได้ เช่น ถ้าเกิดเงาที่ทอดยาวแสดงว่า ขณะนั้นเป็นเวลาเช้าหรือเย็น ถ้าเงาสั้นลง แสดงว่า เป็นเวลาสายหรือบ่ายแต่ถ้าเงาสั้นมากจนเกือบมองไม่เห็นแสดงว่า ขณะนั้นเป็นเวลาเที่ยงวันเนื่องจากดวงอาทิตย์จะอยู่เหนือศีรษะพอดี

เงากับการเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติ

โลก ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ทุกดวงจัดเป็นตัวกลางทึบแสง เมื่อดวงอาทิตย์ส่องแสงมากระทบจึงบังแสงไม่ให้ผ่านไปได้ทำให้เกิดเงามืดหรือเงามัวขึ้นได้ จากความรู้ที่ผ่านมานั้น โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และดวงอาทิตย์หมุนรอบตัวเอง เมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน ทั้งโลกและดวงจันทร์ต่างก็เป็นตัวกลางทึบแสง จึงทำให้เกิดการบังของเงาขึ้นเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า สุริยุปราคาและจัทรุปราคา
- สุริยุปราคา เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลากลางวัน เมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และโลกโคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน มีดวงจันทร์ซึ่งเป็นตัวกลางทึบแสงอยู่ตรงกลางระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก ดวงจันทร์จึงบังแสงจากดวงอาทิตย์ไม่ให้ส่องผ่านมายังโลก จึงเกิดเงาของดวงจันทร์ทอดมายังโลก ทำให้คนบนโลกที่อยู่ในบริเวณเงามองไม่เห็นดวงอาทิตย์ หรือเห็นไม่เต็มดวง เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า สุริยุปราคา
- จันทรุปราคา เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลากลางคืนช่วงที่ดวงจันทร์เต็มดวง เมื่อดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์โคจรอยู่ในแนวเดียวกัน ซึ่งมีโลกอยู่ตรงกลางโลกเป็นตัวกลางทึบแสงและมีขนาดใหญ่กว่าดวงจันทร์จะบังแสงจากดวงอาทิตย์ไม่ให้ส่องผ่านไปถึงดวงจันทร์ จึงเกิดเงาของโลกบังดวงจันทร์ได้เต็มดวงเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า จันทรุปราคา


*************************************
มาตรฐานการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์

สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว 1. 1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2. 1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3. 1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4. 1 เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม
มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 5 พลังงาน
มาตรฐาน ว 5. 1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวน การสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6. 1 เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว 7. 1 เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพการปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 7.2 เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม

สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8. 1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

***************************************************
   กิจกรรมต่อมาคืออาจรย์นำของเล่นวิทยาศาสตร์มาให้นักศึกษาลองเล่นและลองสังเกตการเปลี่ยนแปลง หรือปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น


     การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตุ๊กตาที่วางอยู่หน้ากระจก กับการวางกระจกแบบกางออกกว้างๆกับการวางกระจกแบบเเคบ








      การวางดอกไม้กลีบเดียวหน้ากระจกที่ความกว้างในการกางที่ต่างกัน ทำให้จำนวนกลีบของดอกไม้นั้นเพื่มขึ้น





การขยับของภาพ




ของเล่นวิทยาศาสตร์เรื่องสี





**************************************************
ทักษะที่ได้รับ   
1.หลักการคัดลายมือ
2.ความรู้เรื่องเงา
3.ทักษะการคิดสร้างสรรค์
4.การออกแบบของเล่น
5.การทดลอง

การประยุกต์ใช้
   การทำของเล่นที่เด็กสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้เองและสามารถนำไปต่อยดการเรียนรู้ได้ในอนตค การสร้างสรรค์สิ่งที่แปลกใหม่น่าค้นหาและน่าเรียนรู้ที่เหมาะสมกับพัฒนาการและวัยของเด็กในแต่ละช่วง

ประเมินผล

ประเมินตนเอง  มีความตั้งใจและได้ความรู้เรื่องเงา เรื่องการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่เหมาะกับเด็ก

ประเมินเพื่อน เพื่อนมีความสนใจและและตั้งใจในการทำงานที่ครูสั่ง

ประเมินอาจารย์ อาจารย์มีหลักการสอนที่น่าสนใจ และมีการยกตัวอย่างเพื่อที่จะให้นักศึกษาได้เห็นภาพที่ชัดเจนในการทำงาน


************************************************









บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
วันอังคารที่ 6 กันยายน 2559

บรรยากาศในห้องเรียน
 
  วันนี้อาจารย์ให้ไปดูวิดิโอการทดลองทางวิทยาศาตร์ที่ห้องสมุด ทุกคคนก็มาพร้อมกันที่ห้องสมุดและเข้าไปดูวีดิโอที่อาจารย์เปิดให้ดูกันอย่างสนใจ









เรื่องการทดลองที่ดูจะมีอยู่ 7 เรื่อง
1.การทดลองถ้วยกระดาษ
2.การทดลองการปล่อยควันธูปใส่ในตู้
3.การทดลองเรื่องทางผ่านของลม
4.การทดลองบังคับน้ำไม่ให้ไหลออกจากแก้ว
5.การทดลองยกหนังสือด้วยลมจากลูกโป่ง
6.การทดลองเจาะเเก้วน้ำยังไงไม่ให้น้ำไหล
7.การทดลองดันไข่ต้มลงในขวด


   หลังจากที่ดูวีดิโอเสร็จต่างก็แยกย้ายกันไป และอาจารย์ก็ได้บอกไห้ไปพบที่ตึกนวัฒกรรมเพื่อที่จะได้นำเสนอของเล่นที่อจารย์ได้สั่งให้ทำมา

ของเล่นที่ฉันทำมาคือ ร่มชูชีพ



อุปกรณ์

1.ถุงพลาสติก



2.เชือก 4 เส้น



3.ตุ๊กตา 



ขั้นตอนการทำ

1.ตัดถุงพลาสติกที่เรานำมาเป็นสึ่เหลี่ยมจตุรัส
2.จากนั้นนำเชือกที่เตรียมไว้ 4 เส้น มันทั้ง 4 มุมของถุงพลาสติกที่ตัดไว้
3.จากนั้นนำปลายเชื่อกข้างที่เหลืออยู่มามัดใส่กับตุ๊กตาที่เราเตรียมไว้

วิธีการเล่น


   จับตรงตุ๊กตาที่ผูกไว้ปลายเชือกแล้วก็โยนขึ้นไป หรือปล่อยลงจากที่สูงก็ได้ แล้วขณะที่ร่วงลงพื้นนั้นด้วยน้ำหนักของตุ๊กตาจะดิ่งลงสู้พื้นแล้วพสลาสติกที่เรามัดไว้อีกฝั่งนึ่งก็จะกางออกแล้วก็จะช่วยต้านกับบรรยากาศทำให้การร่วงลงสู่พื้นจะช้าลง 

ความรู้ของเล่นวิทยาศาสตร์กับเรื่องอากาศ

      ได้ความรู้เรื่อง แรงพยุงเมื่อวัตถุที่มีพื้นที่มากจะทำให้อากาศเข้าไปอยู่เยอะจึงทำให้เกิดการพยุงของวัตถุให้เคลื่อนที่ช้า แรงพยุงสามารถทำให้วัตถุลอยอยุ่บนอากาศได้ หากเราโยนร่มชูชีพแล้วปล่อยลงมาแบบไม่กางปีกจะทำให้ร่มชูชีพตกลงมาเร็วกว่า กับการปล่อยลงมาแบบกางปีกจะทำให้ร่มชุชีพตกลงมาช้ากว่าเพราะมีพื้นที่และอากาศเยอะกว่าแบบไม่กางปีก


ทักษะที่ได้รับ
1.ทักษะการทดลองแบบง่ายๆและเหมาะกับเด็กปฐมวัย
2.การมีความคิดสร้างสรรค์
3.การเชื่อมโยงเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก
4.การออกแบบของเล่นที่เหมาะสม
5.รูปแบบกานำเสนอผลงาน

การประยุกต์ใช้

  การทำของเล่นวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในแต่ละช่วง และการสอดแทรกเนื้อหาข้อมูลที่เข้าใจง่ายให้กับเด็ก 

ประเมินผล

ประเมินตนเอง มีความเข้าใจในการทำของเล่นวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมกับเด็ก การปฎิบัติตามขั้นตามหลักวิทยาศาสตร์

ประเมินเพื่อน เพื่อนๆต่างก็มีความคิดที่สร้างสรรค์ในการทำของเล่นวิทยาศาสตร์มานำเสนอ

ประเมินอาจารย์ อาจารย์ถึงจะติดภาระกิจแต่ก็ยังไม่ทิ้งการสอน ได้สั่งให้นักศึกษาไแดูวีดิโอวิทยาศาสตร์เพื่อที่จะได้มีองค์ความรู้เพื่อมเติมในการทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก


*******************************************************



บันทึกการเรียนครั้งที่ 4
วันอังคารที่ 30 สิงหาคม 2559 

บรรยากาศในห้องเรียน
  วันนี้อาจารย์ได้แจกกระดาษให้กับนักศึกษาทุกคน แล้วให้คัด ก-ฮ เเบบหัวกลมตัวเหลี่ยม หลังจากคัดเสร็จทุกคนแล้วอาจารย์ก็ได้เข้าเนื้อหาขอการเรียนโดยเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมจากสัปดาห์ที่แล้วก่ินจากนั้นค่อยเข้าสู่สิ่งที่จะเรียนในวันนี้ หลังจากเรียนไปได้ซักระยะอาจารย์ได้ให้จับกลุ่ม 5-6 คนในการทำงานชินนี้ โดยมีอุปการณ คือ 1.กระดาษ 2.คลิปหนีบกระดาษ

-โดยมีหัวข้อคือให้นักศึกษาช่วยกันคิดของเล่นวิทยาศาสตร์จากสองสิ่งที่กำหนดให้แล้วให้สอดคล้องกับเรื่องอากาศ


ภาพบรรยากาศการทำกิจกรรม






กลุ่มที่1 ทำรถ
 คือพับกระดาษเป็นรถ โดยมีคลิปหนีบกระดาษที่ดัดเป็นเส้นตรงเป็นส่วนประกอบคือ เมื่อทดลองด้วยการเป่ารถกระดาษไปโดยไม่ใส่คลิปไว้ตรงหัวรถพบว่าทิศทางการเคลื่อนที่ของรถจะไม่คงที่ เป๋ไปมา  และเมื่อทดลองอีกครั้งด้วยการใส่คลิปหนีบกระดาษที่ดัดเป็นเส้นตรงไว้ตรงหัวรถพบว่าทิศทางการเคลื่อนที่ของรถค้งด้วยการที่ และเราก็สามารถปรับเปลี่ยนทิศทางได้ด้วยการดัดปลายคลิปตามที่ตั้งการ

ขั้นตอนการพับ


  1.
 2.

3.


 4.

5.

6.

7.

8.

9.



กลุ่มที่ 2  ทดลองด้วยการใช้สิ่งของสองอย่างคือ คลิปหนีบกระดาษกับกระดาษ ปล่อยลงสู่พื้นโดยปล่อยจากระดับความสูงที่เท่ากับแล้วดูว่าของสิ่งไหนร่วงลงสู่พื้นก่อนกัน และปรากฎว่าคลิปร่วงลงพื้นก่อนกระดาษ เพราะว่ากระดาษมีพื้นที่มากกว่าคลิปทำให้ได้รับแรงพยุงจากอากาศ จึงทำให้การลอยตัวลงสู่พื้นช้ากว่าคลิปที่มีพื้นที่น้อยกว่า





กลุ่มที่ 3   รูปภาพสภาพอากาศต่างๆ  เป็นการวาดภาพเหตุการณ์ของสภาพอากาศที่แตกต่างกัน โดยใช้คลิปดัดทำเป็นเข็บของนาฬิการในการหมุนไปเหตุการณ์สภาพอากาศต่างๆ
เช่น อากาศร้อน  หนาว  ฝนตก  ในไม้ผลิ เป็นต้น




กลุ่มที่ 4  พับลูกยางกระดาษ

1. ตัดกระดาษให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้า
2. ให้พับครึ่งของกระดาษ
3. จากนั้นให้พับหัวกระดาษฝั่งใดฝั่งหนึ่งเข้ามาประมาณ 1 เซนติเมตร
4. และหลังจากนั้นก็เอาคลิปหนีบกระดาษมาหนีบทับตรงกลางของรอยที่พับ
5. เสร็จแล้วก็ลองเล่นได้เลย

วิธีการเล่น

ให้กางกระดาษที่ตัดไว้คนละฝั่งและลองโยนขึ้นไปให้สูงและปล่อยให้มันลอยลงมาสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น




กลุ่มที่ 5 พับนกกระดาษ



ขั้นตอนการพับ












กลุ่มที่ 6 พับกังหัน


ขั้นตอนการพับ
1.นำกระดาษสีสวยตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สีสลับกันสองด้าน
2.จากนั้นตัดแทยงมุมลงมาประมาณ ครึ่งหนึ่งของสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ตัดไว้
3.พับลงมา 1 ด้าน 4 มุม สลับกัน ติดตรงกลางด้วยกระดุม เม็ดสวย
4.นำไปติดกับแท่งไม้ที่เตรียมไว้ ด้วยลวดเส้นเล็กๆ
***นำไปให้เด็กเล่น หรือประดับตกแต่ง


*************************************

ทักษะที่ได้รับ
1.การออกแบบ
2.การวางแผน
3.การทำงานเป็นลำดับขั้นตอน
4.การระดมความคิดทำงานเป็นกลุ่ม
5.ทักษะและรูปแบบการออกไปนำเสนอผลงาน

การนำไปประยุกต์ใช้
  การนำสิ่งที่หาได้ง่ายๆมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์และสามารถเสริมสร้างองค์ความรู้ให้กับเด็กและช่วยต่อยอดความคิดและประสบการณ์เดิมของเด็กให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ได้จัดการเรียนการสอนให้มากยิ่งขึ้น

ประเมินตนเอง

ประเมินตนเอง  มาเรียนตรงเวลาและเข้าใจในเนื่อหาที่สอนพอสมควร

ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆมีความตั้งใจในการทำงานที่อาจารย์สั่ง และมีความร่วมมือและช่วยกันเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์ อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาและมีกิจกรรมมาให้นักศึกษาทำ มีหลักการสอนและอธิบายงานที่เข้าใจง่าย


***********************************************